ทั้งนี้ทางศูนย์วิจัยได้แนะนำระบบ"แปลภาษามือ"อัตโนมัตินี้ในงาน Technology Open House 2011 โดยระบบนี้สามารถแปลงข้อความของคำพูดในภาษาญี่ปุ่นให้กลายเป็นภาษามือได้ "การแสดงซับไตเติล (subtitle) เหมาะกับผู้ชมที่อ่านภาษาญี่ปุ่นออก แต่ต้องสูญเสียการได้ยินไป แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่พิการตั้งแต่กำเนิด และเรียนรู้ภาษามือมาตั้งแต่ต้น โดยธรรมชาติของบุคคลเหล่านี้จะเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นหลังจากเข้าใจภาษามือแล้ว ซึ่งนั่นทำให้ผู้ชมกลุ่มนี้สามารถเข้าใจภาษามือที่เป็นภาษาแรกได้ดีกว่าซับไตเติ้ล ด้วยเหตุนี้เอง ทีมพัฒนาฯจึงได้ทำการวิจัยระบบแปลภาษามือโดยอัตโนมัติขึ้นมา"
อย่างไรก็ตาม ระบบการทำงานจะแปลภาษามือจากข้อความง่ายๆ ที่เทียบเคียงจากภาษาพูด (ภาษาพูดอาจจะมีการเล่นคำศัพท์แปลกๆ หรืออธิบายด้วยภาษามือได้ยาก) ทำให้มีข้อจำกัดในการแปลอยู่บ้าง แต่ในอนาคตทีมวิจัยจะได้จัดทำระบบที่สามารถแทนที่คำแปลกด้วยคำที่เข้าใจได้ตรงกันทั้งภาษามือ และภาษาพูดในภาษาญึ่ปุ่นเข้าไป ซึ่งการสร้างแอนิเมชันขึ้นมา เพื่อสื่อความกับผู้ชมกลุ่มนี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น แม้จะไม่ได้ 100% ก็ได้ สำหรับเป้าหมายของทีมพัฒนาก็คือ การนำระบบดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับการายงานข่าวในยามเกิดภัยพิบัติ หรือข่าวด่วน ผู้ชมกลุ่มนี้ที่ได้มีโอกาสสัมผัสกับระบบสร้างแอนิเมชั่นแปลภาษามือโดยอัตโนมัติต่างให้ความเห็นตรงกันว่า พวกเขาสามารถเข้าใจเป็นคำๆ แต่การนำเสนอเป็นเรื่องราวยังร้อยเรียงความหมายได้ไม่ดีนัก ดูยังขัดๆ อยู่บ้าง
ข้อมูลจาก: YouTube
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=413759