รายงานวิจัยฉบับดังกล่าวเปิดเผยถึงผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ไว้ว่า "ในขณะที่ไม่มีใครปฏิเสธว่า Facebook เปลี่ยนรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม โดยเฉพาะเยาวชน เราเริ่มที่จะเข้าใจผลกระทบทางด้านจิตวิทยาทั้งบวก และลบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนเหล่านี้แล้ว" ทีมวิจัยพบว่า วัยรุ่นที่ใช้เฟซบุ๊คบ่อยมากเท่าไรยิ่งมีแนวโน้มจะเป็นพวกหลงตัวเองมากขึ้นเท่านั้น - -" ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวจะมีความชัดเจนของอาการผิดปกติทางจิตในลักษณะต่างๆ ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมการต่อต้านสังคม คลั่งไคล้อะไรมากเกินไป และการเรียนรู้ที่ส่งผลกระทบเชิงลบ หากเป็นกลุ่มนักเรียนที่เช็คเฟซบุ๊คทุกๆ 15 นาทีจะมีผลการเรียนที่แย่กว่าคนอื่น และสำหรับเด็กที่บริโภคสื่อ และเทคโนโลยีมากเกินไปในแต่ละวันจะส่งผลลบต่อสุขภาพ เพราะทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะวิตกกังวลสูง หดหู่ และปัญหาทางจิตวิทยาต่างๆ ตามมาอีกด้วย
คราวนี้มาดูผลลัพธ์อีกด้านหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้เฟซบุ๊ค สำหรับผู้ใหญ่ที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งใช้เวลากับเฟซบุ๊คเป็นเวลานานจะสามารถแสดงความรู้สึกร่วม (เห็นอกเห็นใจ ห่วงใย อยากช่วยเหลือ ฯลฯ) กับเพื่อนๆ บนออนไลน์ได้ดีกว่า ในขณะเดียวกันสังคมออนไลน์ยังช่วยพัฒนาให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ถึงวิธีเข้าสังคมด้วย ในรายงานวิจัยยังเสนออีกว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์สามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำหับการสอน เพื่อตรึงความสนใจของเด็กๆ ได้อีกด้วย นอกจากนี้ ในรายงานระบุว่า ผู้ปกครองไม่สามารถติดตามกิจกรรมออนไลน์ของเด็กๆ ได้ "หากคุณรู้สึกว่า ต้องถึงขั้นใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดูแลการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของเด็กๆ คุณอาจจะเสียเวลาเปล่า เพราะเด็กๆ จะสามารถหาทางออกในการหลบหลีกได้ภายในไม่กีนาที วิธีที่ดีกว่า คือ ผู้ปกครองควรเริ่มต้นพูดคุยถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างพอเหมาะพอควรกับเด็กๆ และสร้างความเชื่อใจไว้ใจ เพื่อว่า เวลาทีมีปัญหา เด็กๆ จะพูดคุยกับคุณถึงปัญหาที่พบ (แนวคิดคล้ายโฆษณาทีวีชิ้นหนึ่งที่พ่อพยายามจะอธิบายเรื่องเพศให้ลูกฟัง) พ่อแม่ต้องปรับตัวในการเข้าหากิจกรรมบนเครือข่ายสังคมของลูกๆ (มีแอคเคาต์ของตัวเอง เพื่อเล่นเฟซบุ๊คกับลูกไปเลย) และคอยแนะนำให้ลบคอนเท็นต์ที่ไม่เหมาะสมออกไป" ถึงเวลาแล้วล่ะครับ ที่ผู้ใหญ่ต้องให้ความสนใจกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะต้องนำพาสังคมต่อไป
เว็บไซต์ในข่าว: Facebook
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=414148