Amit Singhal วิศวกรลูกหม้อของ Google กล่าวว่า ทางบริษัทต้องการให้ผู้ใช้ได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้มากกว่านี้ โดยการใช้กลไกที่เรียกว่า Semantic Search ซึ่งมันจะพยายามจัดลำดับสิ่งที่มีความหมายกับผู้ใช้จริงๆ ทันทีที่คุณกำลังพิมพ์คีย์เวิร์ดเข้าไปในช่องค้น Singhal ยังบอกอีกด้วยว่า มันคือเสิร์ชต่อไปหลังจากที่เราใช้กลไกการค้นหาแบบเดิมๆ มาหลายปีแล้ว โดยประเด็นของเสิร์ชยุคใหม่ที่วิศวกรของ Google พูดถึง และน่าสนใจมากๆ ก็คือ การทำให้ Google สามารถให้คำตอบกับผู้ใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องออกไปจากหน้าผลลัพธ์การค้น เหตุผลนอกจากความต้องการให้บริการเสิร์ชที่เยี่ยมยอดกับผู้ใช้ทั่วโลกแล้ว ไอเดียเบื้องหลังนี้ก็คือ ยิ่งผู้ใช้ Google ใช้เวลากับบริการเสิร์ชนานเท่าไร โอกาสทำรายได้จากโฆษณาของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น - -"
ตัวอย่างเช่น ตอนนี้ การค้นหาว่า นักร้อง หรือวงดนตรีใดที่กำลังจะมีคอนเสิร์ทวันไหน แทนที่ Google จะให้ลิงค์ของคำตอบกับผู้ค้น Google จะแสดงออปชัน "personal results" (ผลลลัพธ์การค้นเฉพาะบุคคล) จากเพื่อนๆ ที่อยู่ในบริการ circles บน Google+ ด้วย เช่นเดียวกับผลลัพธ์การค้นปกติ ซึ่งที่ส่วนท้ายของหน้าค้นหา ผู้ใช้ยังสามารถเห็นรายการสำหรับการค้นหาที่เฉพาะเจาะจงลงไป ซึ่งอาจจะตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้กำลังค้นหาอยู่ก็ได้ "ทุกวันนี้ เรา (Google) กำลังปรับปรุงความสามารถตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับคำตอบที่ดีที่สุด และเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ สำหรับทุกคำถามที่ป้อนเข้าไปในช่องค้น ในการทำสิ่งนี้ เราได้แปลงข้อมูลดิบเข้าไปเป็นฐานความรู้สำหรับผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลก แต่ความสามารถของเราในการที่จะส่งมอบประสบการณ์นี้ได้คือ ฟังก์ชันการทำงานของ Google จะต้องเข้าใจคำถามของคุณ และเข้าใจข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนโลกใบนี้ ซึ่งตอนนี้ ความเข้าใจของเราสำหรับการหาคำตอบในเรื่องดังกล่าวเริ่มปะติดปะต่อเป็นรูปร่างที่ชัดเจนขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง"
วิศวกรของ Google ยังเปิดเผยอีกด้วยว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา Google ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ (entities) ที่เกี่ยวของกับคน สถานที่ และสิ่งของ หลายร้อยล้านรายกร เข้าไปในซีแมนทิคเสิร์ช ซึ่งมันสามารถดึงข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริหาร สถานที่ และผลิตภัณฑ์ให้แสดงขึ้นมา เมื่อคุณค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะ โดย Singhal ได้พูดถึง Freebase ฐานข้อมูลที่ Google ซื้อมาเมื่อปี 2010 ที่ในขณะนั้น Freebase ได้รวบรวมเอ็นทิตี และคุณสมบัติที่เชื่อมโยงกันไว้มากกว่า 12 ล้านรายการ จนล่าสุดตอนนี้ Freebase มีฐานข้อมูลของสิ่งต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันมากกว่า 200 ล้านรายการแลว การใช้"คีย์เวิร์ด"ในการค้นหาเพียงอย่างเดียวได้หมดยุคไปแล้ว Singhal ระบุในข้อความที่โพสต์ว่า ขณะนี้การเสิร์ชด้วยกลไกของ Semantic ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังต้องดำเนินต่อไป โดยขอให้ผู้ใช้ใจเย็นๆ ซึ่งเขาจะเปิดเผยเรื่องนี้อีกครั้ง (แน่นอนว่า หากมีการอัพเดทในเรื่องนี้อย่างไร ทางเว็บไซต์ arp จะรีบหยิบมานำเสนอให้ทุกท่านได้ทราบทันที) เมื่อเห็นภาพการทำงานที่ชัดกว่านี้ ปัจจุบัน Google มีส่วนแบ่งตลาดเสิร์ชอยู่ที่ 75% และทำรายได้ให้บริษัทสูงถึงสามหมื่นเจ็ดพันล้านเหรียญฯ
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=415020