ข่าว IT ล่าสุด
ถูกใจอย่าลืม Like Fanpage
[it] จะทำอย่างไร ถ้าค่าพิมพ์เอกสารในออฟฟิศสูงปรี๊ด
แสดงแล้ว 1688 ครั้ง /
เมษายน 25, 2012, 18:04:49

Moshi

ออฟไลน์
กระทู้ : 16,996
คะแนนขอบคุณ : 45
it4x สังคมแห่งการเรียนรู้
      ค่าใช้จ่ายตัวหนึ่งในธุรกิจ ห้างร้าน ตลอดจนองค์กรใหญ่ๆ ที่มักจะติด Top 10 อยู่เสมอก็คือ ค่าพิมพ์เอกสาร โดยเฉพาะค่ากระดาษที่ใช้ในแต่ละเดือน ซึ่งหากมีการบริหารจัดการให้ดี ค่าใช้จ่ายของสำนักงานจะลดลงได้อย่างมหาศาล เพียงแค่ปรับเปลี่ยนกระบวนการ ขั้นตอนการพิมพ์งานเอกสารต่างๆ รวมถึงการใช้อุปกรณ์สำนักงานที่ช่วยให้งานเหล่านี้ง่ายขึ้น รวดเร็วกว่าเดิม และประหยัดค่าใช้จ่ายได้


     
 

แต่เพื่อให้คุณผู้อ่านที่อยู่ในออฟฟิศ หรือผู้ประกอบการ SME ได้เห็นภาพการบริหารจัดการงานพิมพ์เอกสารต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นอย่างไร? ลองชม"มินิซีรียส์"ทีมีชื่อตอนว่า "ขอแก้ตัวใหม่" โดยเป็นเรื่องราวของแผนก Business Advisor ในบริษัทแห่งหนึ่ง ที่ใช้กระดาษกันอย่างสิ้นเปลือง(แบบไม่รู้ตัว) จนวันหนึ่งพบว่า แผนกตัวเองมียอดการใช้กระดาษเปลืองที่สุดในออฟฟิศ ทำให้คนในแผนกต้องมาปรับพฤติกรรมกันใหม่ โดยได้คำแนะนำดีๆจากหนุ่มหล่อริโก้แมน

คุณรู้หรือไม่?: คุณอาจไม่รู้ว่า พฤติกรรมที่คุณเคยชินในออฟฟิศ อย่างการใช้เครื่องพรินเตอร์ เครื่องแฟกซ์ เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร รวมไปถึงการใช้กระดาษเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขนาดไหน? จากการสำรวจพบว่า บริษัทแต่ละแห่งมีการใช้อุปกรณ์การพิมพ์ ทั้งเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ เครื่องพรินเตอร์ เป็นจำนวนมาก คิดเป็นอัตราส่วน 3 คนต่อ 1 เครื่องในขณะทีมีการใช้งานน้อย ทำให้มีค่าใช้จ่ายต่อแผ่นที่แพงเกินจำเป็น แต่ถ้าปรับให้มีอัตราส่วนทีเหมาะสมกับการใช้งานจริงควรอยู่ที่ 10 คนต่อ 1 เครื่อง ก็จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น เครื่องมัลติฟังก์ชันยังช่วยให้คุณทำงานง่ายขึ้น และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไปในตัวอีกด้วยครับ

* คุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip สามารถติดตาม mini series ทีให้สาระดีๆ และมีประโยชน์นี้ได้ทั้งทางเว็บไซต์ arip แห่งนี้ เว็บไซต์ buzzidea.tv และในรายการ Cybercity ทุกวันเสาร์เวลา 10:45 - 11:10 น. ทางททบ. 5 เริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 21 เมษายน ศกนี้ เป็นต้นไป

 


www.buzzidea.tv


 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ระวัง: หัวข้อนี้ไม่มีการอัพเดทมานานถึง 120 วัน

แจ้งเตือน: โพสของคุณจะไม่แสดงจนกว่าผู้ดูแลจะอนุมัติ.
ชื่อ: อีเมล์: