ข่าว IT ล่าสุด
ถูกใจอย่าลืม Like Fanpage
[it] หูฟังเสียบมือถืออันตรายถึงตายได้!!!!
แสดงแล้ว 2853 ครั้ง /
พฤษภาคม 25, 2012, 11:15:00

Moshi

ออฟไลน์
กระทู้ : 16,996
คะแนนขอบคุณ : 45
it4x สังคมแห่งการเรียนรู้
      จากข่าวนิสิิตจุฬาถูกรถไฟชนเสียชีวิตในขณะที่เสียบหูฟังบนไอโฟนทำให้ไม่ได้ยินเสียงรถไฟหวูดเตือนนั้น อาจทำให้หลายๆคนเริ่มกลับมาสนใจพฤติกรรมการใช้มือถือของตัวเองปลอดภัยแล้วรึยัง


     
 


                   จากเหตุการณ์น่าสลดเฟรชชี่สาวจุฬาถูกรถไฟชนบริเวณแอร์พอร์ทลิ้งค์เมื่อ21พ.ค.55 ตำรวจได้สันนิษฐานว่า เกิดจากการใช้หูฟังเดินใกล้กับรางรถไฟ ในขณะที่รถไฟกำลังเข้าชานชลาเปิดเสียงหวูดเตือนหลายครั้ง  และคนรอบข้างได้ตะโกนเตือนแล้วแต่ไม่ได้ยิน  ทำให้ถูกรถไฟลากแล้วหลุดเข้าไปใต้รางโดนทับเสียชีวิตนั้น  น่าจะเป็นข้อเตือนใจสำหรับทุกๆคนในการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือ!!!



ใครจะไปรู้ว่า ซักวันหนึ่งมือถือคู่กายคุณอาจทำให้ตายได้


                  ต่อให้มีข่าวน่าสลดออกมากี่ครั้ง แต่ถ้าไม่เกิดกับตัวเองคงยังไม่รู้สึก ด้วยความเป็นห่วงแฟนๆ ARiP จึงได้รวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นข้อเตือนใจในการใช้อุปกรณ์สื่อสารอย่างมีสติและระมัดระวัง โดยเฉพาะคนที่ชอบเสียบหูฟังเปิดเสียงดังๆ และสาวกแชท(แชทไปเดินไป)ทั้งหลาย เตรียมเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กันได้เลย!!!

ขอขอบคุณคลิปข่าวจากมติชน

 

อันตรายจากการใช้มือถือคู่หูฟัง


- หูฟังมีหลายประเภท โดยแบบ In-Ear(แบบที่เสียบเข้าไปในรูหู)นั้นเป็นแบบที่กำลังเป็นที่นิยมและอันตรายที่สุด ซึ่งเกิดจากการที่มันอุดรูหูทำให้ผู้ใช้ได้ยินแต่เสียงจากอุปกรณ์และ ยากที่จะได้ยินเสียงจากภายนอก ทางที่ดีลองเปลี่ยนชนิดหูฟังเพื่อให้ได้ยินเสียงภายนอกบ้าง หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็อย่าฟังดังจนเกินไปจนไม่ได้ยินเสียงภายนอก บางทีอันตรายที่วิ่งมาหาได้ส่งเสียงเตือนแล้ว แต่คนถูกเตือนไม่ได้ยินก็ช่วยไม่ได้....


- อย่าฟังดังเกิน 80เดซิเบล ถามว่า80 เดซิเบลมันดังขนาดไหน คร่าวๆคือดังประมาณคน 2 คน ยืนห่างกัน 1 เมตรต้องตะโกนคุยกันถึงได้ยิน ดังนั้นหากใช้หูฟังแล้วไม่ได้ยินเสียบรอบๆตัวในระยะ 1 เมตรต้องลดเสียงซะนะ บางทีเพื่อนอาจจะตะโกนเตือนไฟไหม้ที่อยู่หลังคุณอยู่ก็ได้

 


- อย่าฟังนานเกินไป เพราะจะทำให้หูตึงและหูเสื่อม ยิ่งฟังดังฟังนาน ยิ่งตึงยิ่งเสื่อมเร็วมากขึ้น


- ในที่สาธารณะหรือผู้คนเดินพลุกพล่าน ย่านสถานีรถไฟ หรือในห้างสรรพสินค้าจงหยุดใช้หูฟังขณะเดินชั่วคราวซะ ทุกๆอย่างเกิดขึ้นได้แม้กระทั่งภัยจากผู้ไม่หวังดี ถ้าให้ดีหาที่หลบมุมดีๆยืนฟังอยู่เฉยๆเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและคนรอบด้าน


- หูฟังไม่สะอาดหรือใช้ร่วมกับผู้อื่นอาจทำให้ติดเชื้อ กลายเป็นโรคเกี่ยวกับหูได้


อันตรายจากการใช้มือถือกับโปรแกรมแชทหรือเช็คข้อความบนมือถือ

 


- ผลวิจัยจากสหรัฐเตือนว่า การแชทบนมือถือทำให้สติของคุณเท่ากับคนเมาแอลกอฮอลล์!!! หมายความว่า ในขณะที่คุณกำลังแชทและทำกิจกรรมอย่างอื่น เช่น เดิน ขับรถ หรือทำงานอย่างอื่นควบคู่กันไปด้วยนั้นจะทำให้สมาธิกับสิ่งรอบด้านลดลง เหมือนคนเมาแอลกอฮอลล์ (ไร้สติ) ดังนั้นก่อนที่จะแชทหรือจ้องหน้าจอมือถืออย่าทำกิจกรรมอื่นควบคู่ไปด้วบ โดยเฉพาะเวลาขับรถ!!!

 

ตัวอย่างการเกิดอุบัติเหตุจากการแชทไปขับไป

 

จัสตินบีเบอร์ยังต้องออกมาขอร้อง คิดดูละกันครับพี่น้องครับ

 
- แชทมากๆ อาจจะทำให้เกิดอาการนิ้วล็อค เนื่องจากการเกร็งนิ้วเพื่อพิมพ์บนแป้นมือถือเป็นเวลานานๆ


 

สุดสวยซีออกมาเตือนแล้ว ถ้าไม่ฟังซีจะดุนะคะ

 

                สุดท้ายคุณหมอได้ออกมาเตือนว่า ขณะที่เรากำลังใช้มือถือไม่ว่าจะฟัง อ่าน หรือแชทนั้น จะทำให้เราเป็นคนหูหนวกตาบอดชั่วขณะ !!! ไม่ได้หมายถึงว่าเราจะพิการไปอย่างถาวร แต่หมายถึงระหว่างที่เรามัวแต่สนใจแต่บนหน้าจอนั้น สมองด้านการรับรู้ของเราไม่ว่าจะเป็นการมองเห็นหรือการฟังจะลดลงจนเทียบเท่ากับคนหูหนวกตาบอดเลยทีเดียว จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายครั้งจะเกิดอุบัติเหตุกับคนใช้มือถือถึงแม้จะมีคนพยายามจะส่งเสียงเตือน หรือให้สัญญาณแล้วก็ตาม

                 "เหรียญสองด้าน" สุภาษิตที่เปรียบ "ของดีๆถ้าเอาไปใช้ผิดๆกลับกลายเป็นสิ่งชั่วร้าย" ยังคงสามารถนำมาเตือนใจได้ทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะกับมือถืออุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ชิดเรามากที่สุดเกือบ24ชั่วโมงจนบางคนแทบถอดวิญญาณเข้าไปสิงด้วยซ้ำ  ดังนั้นจงระมัดระวังและมีสติในการใช้มือถือตลอดเวลา โดยเฉพาะในที่สาธารณะอย่าให้ใครเดือดร้อนเพราะเรา หรือเราเดือดร้อนเพราะมัน

 

แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com

ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=415252


 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ระวัง: หัวข้อนี้ไม่มีการอัพเดทมานานถึง 120 วัน

แจ้งเตือน: โพสของคุณจะไม่แสดงจนกว่าผู้ดูแลจะอนุมัติ.
ชื่อ: อีเมล์: