เมื่อปีที่แล้ว สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์บางรุ่นเปิดตัวพร้อมกับการใช้โพรเซสเซอร์ดูอัลคอร์ก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะสนับสนุนการทำงานร่วมกับชิปแบบนี้ ซึ่งการสนับสนุนการทำงานร่วมกับชิปดูอัลคอร์จริงๆ จะเริ่มตั้งแต่ Android 2.3.4 ที่ออกในเดือนเมษายน 2011 อย่างไรก็ตาม อินเทล (Intel) อ้างว่า ทางบริษัทได้ทดสอบระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์กับโพรเซสเซอร์ดูอัลคอร์ โดยใช้ Android 4.0 Ice Cream Sandwich ซึ่งได้ข้อสรุปว่า การใช้ชิปดูอัลคอร์ช่วยให้ได้ประโยชน์ (ความเร็ว) กลับคืนมาเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ จากผลการทดสอบยังแสดงข้อมูลที่น่าตกใจอีกด้วยนั่นคือ ชิปดูอัลคอร์กลายเป็นตัวปัญหาของประสิทธิภาพการทำงาน เนื่องจากตารางจัดการเธรด (thread scheduler) การทำงานของแอนดรอยด์ไม่พร้อมสำหรับชิป"มัลติคอร์" (ตั้งแต่ดูอัลคอร์ขึ้นไป)
อินเทลสรุปผลการทดสอบที่ได้ว่า ส่วนโค้ดการทำงานบน"มัลติคอร์"ของแอนดรอยด์จะทำงานช้ากว่าการทำงานบนซิงเกิ้ลคอร์ อย่างไรก็ตาม ทางบริษํทกลับไม่ได้เฉพาะเจาะจงลงไปว่า พวกเขาใช้โพรเซสเซอร์ตัวไหนในการทดสอบ และทดสอบบนสมาร์ทโฟนรุ่นใด? หรือแม้แต่วิธีที่ใช้ในการทดสอบโพรเซสเซอร์ (แทงกั๊ก???) เพราะฉะนั้นคงจะตัดสินใจจากสิ่งที่ประกาศออกมาโดยไม่มีหลักฐานแม้แต่อย่างเดียวเห็นทีจะยังเชื่อไม่ได้ อย่างไรก็ตาม อินเทล กำลังจุดประเด็นร้อนให้กับแอนดรอยด์ โดยเน้นย้ำว่า การที่โอเอสไม่สนับสนุนการทำงานของชิปมัลติคอร์ โดยเฉพาะส่วนของ Thread Scheduler ที่เป็นปัญหาใน Android จะทำให้สิ่งที่ผู้บริโภคได้ (สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์บนชิปมัลติคอร์) ไม่คุ้มเสีย เพราะมันจะทำให้ไม่ได้ประโยชน์จากชิปมัลติคอร์ หรือพูดง่ายๆ มันแทบจะไม่ต่าง หรือแย่กว่าการทำงานบนชิปซิงเกิ้ลคอร์ (แกนเดียว) เสียด้วยซ้ำ เอ้า...จัดมาอย่างนี้ คงต้องดูว่า Google และเหล่าบรรดาบริษัทผู้ผลิตชิปมัลติคอร์บนสถาปัตยกรรม ARM จะตอบโต้ยังไง?
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=415288