แม้ว่า นักพัฒนาจะสังเกตพบโค้ดสำหรับการใช้งานปุ่ม Want ใน JavaScript SDK ของ Facebook มาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาแล้วก็ตาม เว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์ยักษ์ใหญ่กลับให้คำตอบในลักษณะที่ไม่ฟันธงลงไปว่าเป็นเรื่องจริง หรือไม่? ผ่านมาสองเดือน เฟซบุ๊กถึงได้ออกมาประกาศความร่วมมือกับค้าปลีก 7 แห่ง อย่างเช่น Victoria Secret, Pottery Barn หรือ Neiman Marcus เพื่อทดสอบแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถระบุว่า want, collect หรือ like ผลิตภัณฑ์จากผู้ค้าเหล่านี้ได้ ซึ่งการคลิก Like เป็นที่ทราบกันดีว่า สิ่งนั้นจะไปปรากฎบนไทม์ไลน์ของคุณ
ตัวแทนของเฟซบุ๊กได้อธิบายว่า "เราสังเกตเห็นมานานแล้วว่า ธุรกิจต่างๆ มักจะใช้เพจในการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของพวกเขาผ่านทางอัลบั้มรูปภาพ ซึ่งวันนี้ เรากำลังเริ่มทดสอบด้วยการเลือกกลุ่มธุรกิจจำนวนหนึ่งให้สามารถแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ่านฟีเจอร์ที่เรียกว่า Collections โดย Collections จะถูกพบเห็นได้ใน news feed และผู้ใช้จะสามารถเชื่อมโยงกับ Collections และแชร์สิ่งที่พวกเขาสนใจให้กับเพื่อนๆ ได้รับรู้ ซึ่งผู้ใช้สามารถคลิก เพื่อเข้าไปซื้อสินค้าเหล่านี้จากเฟซบุ๊กได้" เว็บไซต์อย่าง Mashable ชี้ประเด็นว่า ไอเดียนี้คล้ายกับ Pinterest การซื้อขายที่เกิดขึ้นทางเฟซบุ๊กจะได้ค่าคอมมิชชั่นคล้ายๆ กับ Affiliate โดยการทำงานร่วมกับปุ่ม Want กลไกนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการโปรโมทสินค้า หรือบริการ โดยใช้ข้อมูลจากการคลิกปุ่ม Want ในการสร้างโอกาสขายให้กับผู้ค้า เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการเกิดขึ้นแล้ว คล้ายๆ กับการมี Wishlist ของผู้ใช้ ซึ่งจะลึกซึ้งกว่าโฆษณาของ Facebook เองที่ระบุความสนใจอย่างกว้างๆ เท่านั้น
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=415694