เชื่อว่า คุณผู้อ่านคงจะเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยี OLED (Organic Light Emitting Diode) หรือแม้แต่ใช้มันอยู่ โดยเฉพาะหน้าจอของมือถือ และเครื่องเล่นเอ็มพีสามบางรุ่น ล่าสุดมันถูกนำไปใช้กับทีวี ซึ่งทำให้ภาพที่ได้มีความสว่างไสวชัดเจนยิ่งขึ้น แต่คุณผู้อ่านทราบไหมครับว่า อะไรคือความลับของความสำเร็จที่ซ่อนอยู่ในเทคโนโลยีนี้
ศาสตราจารย์ Vladimir Bulovic จากสถาบัน MIT ได้สาธิตการทำงานของ OLED ผ่านทางรายการ TechTV ด้วยสิ่งของง่ายๆ จนไม่น่าเชื่อว่ามันจะถูกนำมาใช้ในการสาธิตครั้งนี้ นั่นก็คือ "แตงกวาดอง" โดยผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจสามารถเข้าใจถึงการทำงานของเทคโนโลยีนี้ได้อย่างง่ายดาย
หลักการทำงานของเทคโนโลยี OLED ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการปล่อยอิเล็กตรอน (electron) ให้ไหลผ่านสสารอินทรีย์ (organic material) โดยในการสาธิตจะเป็นการนำ"แตงกวาดอง"มาเชื่อมต่อระหว่างขั้วไฟฟ้า (electrode) แอโนด (anode) ที่ทำหน้าที่ปล่อยอิเล็กตรอน และคาโธด (cathode) ที่ทำหน้าที่รับอิเล็กตรอน เมื่ออิเล็กตรอนเริ่มเคลื่อนที่จากขั้วไฟฟ้าแอโนดไปยังแคโธด ทันทีที่ประจุไฟฟ้า(ทั้งบวกและลบ)ชนเข้ากับโมเลกุลของแตงกวาดอง ซึ่งในที่นี้ใช้เป็นตัวแทนของสสารอินทรีย์ โฟตอน (photon) หรืออนุภาคของแสงก็จะหลุดออกมาทำให้แตงกวาดอง"สว่าง"ขึ้น
ในกรณีนี้ "แตงกวาดอง" ที่ใช้ในการสาธิจะเป็นตัวแทนของหนึ่งพิกเซล(pixel) หรือจุดสว่างที่ปรากฎบนหน้าจอทีวีนั่นเอง ดังนั้นหากจะทำจอ OLED จากแตงกวาดอง เราคงจะได้จอขนาดยักษ์ เพราะต้องใช้แตงกวาดองหลายล้านผล ซึ่งสสารอินทรีย์ที่ใช้ในจอ OLED จริงๆ จะมีขนาดเล็กมาก และมีประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างดีกว่าเจ้าแตงกวาดองทีใช้ในการสาธิตมากมาย แต่เชื่อว่ารสชาตน่าจะสู้ไม่ได้อย่างแน่นอน :p
ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=410052
Site : www.it4x.com
ศาสตราจารย์ Vladimir Bulovic จากสถาบัน MIT ได้สาธิตการทำงานของ OLED ผ่านทางรายการ TechTV ด้วยสิ่งของง่ายๆ จนไม่น่าเชื่อว่ามันจะถูกนำมาใช้ในการสาธิตครั้งนี้ นั่นก็คือ "แตงกวาดอง" โดยผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจสามารถเข้าใจถึงการทำงานของเทคโนโลยีนี้ได้อย่างง่ายดาย
หลักการทำงานของเทคโนโลยี OLED ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการปล่อยอิเล็กตรอน (electron) ให้ไหลผ่านสสารอินทรีย์ (organic material) โดยในการสาธิตจะเป็นการนำ"แตงกวาดอง"มาเชื่อมต่อระหว่างขั้วไฟฟ้า (electrode) แอโนด (anode) ที่ทำหน้าที่ปล่อยอิเล็กตรอน และคาโธด (cathode) ที่ทำหน้าที่รับอิเล็กตรอน เมื่ออิเล็กตรอนเริ่มเคลื่อนที่จากขั้วไฟฟ้าแอโนดไปยังแคโธด ทันทีที่ประจุไฟฟ้า(ทั้งบวกและลบ)ชนเข้ากับโมเลกุลของแตงกวาดอง ซึ่งในที่นี้ใช้เป็นตัวแทนของสสารอินทรีย์ โฟตอน (photon) หรืออนุภาคของแสงก็จะหลุดออกมาทำให้แตงกวาดอง"สว่าง"ขึ้น
ในกรณีนี้ "แตงกวาดอง" ที่ใช้ในการสาธิจะเป็นตัวแทนของหนึ่งพิกเซล(pixel) หรือจุดสว่างที่ปรากฎบนหน้าจอทีวีนั่นเอง ดังนั้นหากจะทำจอ OLED จากแตงกวาดอง เราคงจะได้จอขนาดยักษ์ เพราะต้องใช้แตงกวาดองหลายล้านผล ซึ่งสสารอินทรีย์ที่ใช้ในจอ OLED จริงๆ จะมีขนาดเล็กมาก และมีประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างดีกว่าเจ้าแตงกวาดองทีใช้ในการสาธิตมากมาย แต่เชื่อว่ารสชาตน่าจะสู้ไม่ได้อย่างแน่นอน :p
ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=410052
Site : www.it4x.com