รายงานข่าวล่าสุด เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา ทางกูเกิ้ล (Google) ได้ประกาศแนะนำบริการใหม่ที่ช่วยให้ผูใช้สามารถใส่ "ข้อความบรรยาย" (caption) เข้าไปในเว็บไซต์ยูทูบ (YouTube) ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะเริ่มเปิดให้บริการในสัปดาห์นี้ สำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อให้โอกาสกับผู้ชมที่มีปัญหาเรื่องการได้ยินจะได้สามารถอ่านข้อความ บรรยายแทนการฟังนั่นเอง
ปัจจุบันมีวิดีโอหลายแสนคลิปในเว็บไซต์ Google ที่ได้รับการใส่ข้อความบรรยายเข้าไปแล้ว โดยผู้ใช้จะสามารถสร้าง และเพิ่มคำบรรยายเข้าไปในคลิปผ่านทางบริการของกูเกิ้ล แต่ในขณะที่ยูทูลที่มีอัตราการดาวน์โหลดวิดีโอรวมความยาวกว่า 20 ชั่วโมงในทุกๆ นาที กลับไม่ค่อยมีคลิปประกอบคำบรรยายให้เห็นสักเท่าไร ด้วยเหตุนี้กูเกิ้ลจึงได้พยายามให้ความสะดวกกับผู้ใช้บริการที่ต้องการใส่คำ บรรยายด้วยการนำเทคโนโลยีรู้จำคำพูด (speech-recognition) มาใช้ในการเปลี่ยนเสียงบรรยายในคลิปวิดีโอในยูทูบให้ กลายเป็น"ข้อความ"ตัวหนังสือโดยอัตโนมัติ
เนื่องจากเทคโนโลยี speech-recognition ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ดังนั้นทางกูเกิ้ลจึงเปิดให้บริการดังกล่าวในรูปแบบอัตโนมัติกับแชนเนลบนยู ทูบบางรายเท่านั้น อย่างเช่น PBS, National Geographic และมหาวิทยาลัยชั้นนำ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้ให้สัญญาว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้ดีขึ้นไปอีกในอนาคต และหวังว่า มันจะสามารถให้บริการในวงกว้างได้
ในระหว่างที่ยังไม่สามารถใช้เทคโนโลยีข้างต้น ทางกูเกิ้ลได้เพิ่มคุณสมบัติใหม่ที่มีชื่อว่า "auto-caption-timing" เพื่อให้การใส่ข้อความบรรยายเข้าไปในคลิปวิดีโอทำได้ง่ายขึ้น ผู้สร้างวิดีโอเพียงแค่สร้างไฟล์ข้อความของทุกคำพูดในวิดีโอ จากนั้นเทคโนโลยี speech-recognition ของกูเกิ้ลจะดึงข้อความนั้นมาซิงค์กับเสียงพูดในคลิปให้เอง ด้วยกลไกการทำงานนี้กูเกิ้ลคาดว่าจะสามารถดึงให้ผู้ใช้หันมาใส่ข้อความ บรรยายในวิดีโอมากขึั้น
ข้อมูลจาก: the register
SIte : http://www.it4x.com
ปัจจุบันมีวิดีโอหลายแสนคลิปในเว็บไซต์ Google ที่ได้รับการใส่ข้อความบรรยายเข้าไปแล้ว โดยผู้ใช้จะสามารถสร้าง และเพิ่มคำบรรยายเข้าไปในคลิปผ่านทางบริการของกูเกิ้ล แต่ในขณะที่ยูทูลที่มีอัตราการดาวน์โหลดวิดีโอรวมความยาวกว่า 20 ชั่วโมงในทุกๆ นาที กลับไม่ค่อยมีคลิปประกอบคำบรรยายให้เห็นสักเท่าไร ด้วยเหตุนี้กูเกิ้ลจึงได้พยายามให้ความสะดวกกับผู้ใช้บริการที่ต้องการใส่คำ บรรยายด้วยการนำเทคโนโลยีรู้จำคำพูด (speech-recognition) มาใช้ในการเปลี่ยนเสียงบรรยายในคลิปวิดีโอในยูทูบให้ กลายเป็น"ข้อความ"ตัวหนังสือโดยอัตโนมัติ
เนื่องจากเทคโนโลยี speech-recognition ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ดังนั้นทางกูเกิ้ลจึงเปิดให้บริการดังกล่าวในรูปแบบอัตโนมัติกับแชนเนลบนยู ทูบบางรายเท่านั้น อย่างเช่น PBS, National Geographic และมหาวิทยาลัยชั้นนำ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้ให้สัญญาว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้ดีขึ้นไปอีกในอนาคต และหวังว่า มันจะสามารถให้บริการในวงกว้างได้
ในระหว่างที่ยังไม่สามารถใช้เทคโนโลยีข้างต้น ทางกูเกิ้ลได้เพิ่มคุณสมบัติใหม่ที่มีชื่อว่า "auto-caption-timing" เพื่อให้การใส่ข้อความบรรยายเข้าไปในคลิปวิดีโอทำได้ง่ายขึ้น ผู้สร้างวิดีโอเพียงแค่สร้างไฟล์ข้อความของทุกคำพูดในวิดีโอ จากนั้นเทคโนโลยี speech-recognition ของกูเกิ้ลจะดึงข้อความนั้นมาซิงค์กับเสียงพูดในคลิปให้เอง ด้วยกลไกการทำงานนี้กูเกิ้ลคาดว่าจะสามารถดึงให้ผู้ใช้หันมาใส่ข้อความ บรรยายในวิดีโอมากขึั้น
ข้อมูลจาก: the register
SIte : http://www.it4x.com