ข่าว IT ล่าสุด
ถูกใจอย่าลืม Like Fanpage
[it] หุ่นยนต์ปลาจอมอึดแหวกว่ายได้ 3 วัน
แสดงแล้ว 1781 ครั้ง /
มีนาคม 20, 2010, 08:00:03

Moshi

ออฟไลน์
กระทู้ : 16,996
คะแนนขอบคุณ : 45
it4x สังคมแห่งการเรียนรู้
      ข่าวเทคโนโลยีวันนี้ขอเสนอผลงานวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยโอซากา ซิตี้ (Osaka City University) ที่ได้พัฒนาหุ่นยนต์ปลาที่สามารถแหวกว่ายในน้ำได้เหมือนกับปลาจริงไม่มีผิด เพี้ยน โดยใช้พลังงานจากเซลเชื้อเพลิงที่เรียกว่า Power Tube หรือใช้แบตเตอรี่ลิเธียมทั่วไปก็ได้

      หุ่นยนต์ปลาดังกล่าวได้ถูกนำออกแสงในงาน FC Expo โดยเป็นเวอร์ชันที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียม ด้วยเหตุผลเพื่อความปลอดภัย (รายงานข่าวอ้างว่า มันสามารถใช้พลังงานสะอาดๆ จากไฮโดรเจนได้ด้วย) ความหวังของทีมวิจัยอยู่ที่การตั้งเป้าในการพัฒนาเซล เชื้อเพลิงที่สามารถทำให้หุ่นยนต์ปลาแหวกว่ายอยู่ในน้ำได้ต่อเนื่องถึง 3 วัน แน่นอนว่า ส่วนของกลไกการทำงานของปลาหุ่นยนต์จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยมากๆ



       ทีมพัฒนาบอกว่า ตอนแรกพวกเขาใช้มอเตอร์ แต่มันค่อนข้างกินไฟมาก ภายหลังมาเปลี่ยนเป็นการใช้กระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปในขดลวด 3 พันรอบ เพื่อทำให้แม่เหล็กที่อยู่ตรงกลางขยับไปมา ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการโบกสะบัดของครีบหาง ประเด็นที่น่าพอใจกว่าการใช้มอเตอร์ก็คือ มันใช้พลังงานไฟฟ้าแค่ 10 มิลลิวัตต์เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีกลไกที่ฉลาดมากอยู่ภายในตัวปลานั่นก็คือ movable sinker หรือชิ้นส่วนที่ทำให้ตัวหุ่นยนต์ปลาสามารถจมลงในลักษณะต่างๆ ได้ เช่น หางจมหัวปลาเชิดขึ้น เมื่อหางปลาโบก มันก็จะว่ายขึ้นมา ในขณะที่หากเป็นครงข้าม sinker ไปอยู่ที่ส่วนหัว หุ่นยนต์ปลาก็จะว่ายดำดิ่งลงไปในน้ำ เมื่อสองส่วนนี้ทำงานร่วมกัน ทำให้เจ้าหุ่นยนต์ปลาตัวนี้ว่ายน้ำได้เหมือนปลาจริงมาก



       เป้าหมายของทีมพัฒนานอกจากจะมีเรื่องของพลังงานทีใช้ เพื่อให้ปลาว่ายได้อึดขึนแล้ว หุ่นยนต์ปลายังสามารถทำหน้าที่เป็นสปายใต้น้ำ เพื่อศึกษาสิ่งมีชีวิตได้อีกด้วย โดยติดตั้งกล้องเข้าไปทีส่วนหัวของปลา และการเลียนแบบให้มันเหมือนปลาจริง ซึ่งจะทำให้ปลาในท้องทะเลกล้าที่จะว่ายเข้าหามันนั่นเอง



ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=411085


 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ระวัง: หัวข้อนี้ไม่มีการอัพเดทมานานถึง 120 วัน

แจ้งเตือน: โพสของคุณจะไม่แสดงจนกว่าผู้ดูแลจะอนุมัติ.
ชื่อ: อีเมล์: