เมื่อวานนี้ InVisage Technologies ประกาศเปิดตัว QuantumFilm ที่ทางบริษัทอ้างว่า มันเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายสำหรับเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ภาพที่ทำงานในระดับหมุด ควอนตัม (Quantum dots) ตัวแรกของโลก ซึ่งทำให้มันสมรรถนะการทำงานที่ดีกว่าเซ็นเซอร์ CMOS ที่ใช้ในปัจจุบันถึง 4 เท่า และมีข่วงของอัตราส่วนระหว่างความเข้มแสงสูงสุดต่อต่ำสุด (dynamic range) สูงกว่าเดิมถึง 2 เท่า โดยหากนำเซ็นเซอร์นี้มาใช้กับมือถือจะทำให้คุณภาพของการถ่ายภาพดีกว่าเดิม มาก
ด้วยเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำระดับหมุดควอนตัม (เล็กระดับนาโนเมตร) ทำให้ QuamtumFilm มีคุณสมบัติในการรับแสงได้มากกว่าเดิม ซึ่งหากเป็น CMOS ที่ใช้ในกล้องดิจิตอลปัจจุบันจะสามารถรับแสงได้โดยเฉลี่ย 25% ในขณะที่ QuantumFilm จะสามารถเปิดรับแสงได้ 90 - 95% ซึ่งส่งผลให้ภาพถ่ายที่ได้มีคุณภาพดีกว่า แม้จะถ่ายในสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อยมากๆ แม้จะนำไปใช้กับกล้องขนาดเล็กอย่างเช่น กล้องบนมือถือ เป็นต้น
เซ็นเซอร์ QuanumFilm สามารถจับรายละเอียดบนภาพถ่าย (แม้แต่ลายนูนสีขาวบนเสื้อสีขาว แม้จะมีความแตกต่างของแสงที่ตกกระทบเพียงเล็กน้อย) จากนั้นส่งข้อมูลภาพที่ ได้ไปยังเซ็นเซอร์ CMOS ปกติ เพื่อตีความภาพที่ได้ แล้วจัดการตามขั้นตอนต่อไป InVisage ใช้เวลากว่า 3 ปีในการทำวิจัย เพื่อค้นหาวิธีเชื่อมชิ้นส่วนหมุดควอนตัมที่มีความเล็กระดับนาโนกับกระบวน การผลิต CMOS มาตรฐานภายใต้เงื่อนไขของต้นทุนที่จำกัดจนสามารถพัฒนาได้เป็นลำเร็จ
แม้หลักการจะฟังดูดี แต่งานนี้คงต้องรอท้าพิสูจน์อีกทีจากผลลัพธ์ของภาพถ่ายที่ได้ ลำพังแค่ข้อเท็จจริงทางทฤษฎีกับภาพกราฟิกการทำงานยังไม่อาจจะตัดสินใจได้ว่า มันดีจริง โดยเฉพาะการเปรียบเทียบคุณภาพของภาพถ่ายเดียวกันที่ใช้เซ็นเซอร์ QuantumFilm เทียบกับ CMOS อย่างไรก็ดี ทางบริษัทคาดว่าจะใช้เซ็นเซอร์ตัวนี้กับมือถือกล้องดิจิตอลรุ่นไฮเอ็นด์ โดยจะเริ่มเห็นของจริงในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2010
ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=411096
ด้วยเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำระดับหมุดควอนตัม (เล็กระดับนาโนเมตร) ทำให้ QuamtumFilm มีคุณสมบัติในการรับแสงได้มากกว่าเดิม ซึ่งหากเป็น CMOS ที่ใช้ในกล้องดิจิตอลปัจจุบันจะสามารถรับแสงได้โดยเฉลี่ย 25% ในขณะที่ QuantumFilm จะสามารถเปิดรับแสงได้ 90 - 95% ซึ่งส่งผลให้ภาพถ่ายที่ได้มีคุณภาพดีกว่า แม้จะถ่ายในสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อยมากๆ แม้จะนำไปใช้กับกล้องขนาดเล็กอย่างเช่น กล้องบนมือถือ เป็นต้น
เซ็นเซอร์ QuanumFilm สามารถจับรายละเอียดบนภาพถ่าย (แม้แต่ลายนูนสีขาวบนเสื้อสีขาว แม้จะมีความแตกต่างของแสงที่ตกกระทบเพียงเล็กน้อย) จากนั้นส่งข้อมูลภาพที่ ได้ไปยังเซ็นเซอร์ CMOS ปกติ เพื่อตีความภาพที่ได้ แล้วจัดการตามขั้นตอนต่อไป InVisage ใช้เวลากว่า 3 ปีในการทำวิจัย เพื่อค้นหาวิธีเชื่อมชิ้นส่วนหมุดควอนตัมที่มีความเล็กระดับนาโนกับกระบวน การผลิต CMOS มาตรฐานภายใต้เงื่อนไขของต้นทุนที่จำกัดจนสามารถพัฒนาได้เป็นลำเร็จ
แม้หลักการจะฟังดูดี แต่งานนี้คงต้องรอท้าพิสูจน์อีกทีจากผลลัพธ์ของภาพถ่ายที่ได้ ลำพังแค่ข้อเท็จจริงทางทฤษฎีกับภาพกราฟิกการทำงานยังไม่อาจจะตัดสินใจได้ว่า มันดีจริง โดยเฉพาะการเปรียบเทียบคุณภาพของภาพถ่ายเดียวกันที่ใช้เซ็นเซอร์ QuantumFilm เทียบกับ CMOS อย่างไรก็ดี ทางบริษัทคาดว่าจะใช้เซ็นเซอร์ตัวนี้กับมือถือกล้องดิจิตอลรุ่นไฮเอ็นด์ โดยจะเริ่มเห็นของจริงในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2010
ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=411096