เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศให้ใช้คำว่า สวัสดี เป็นคำทักทายเมื่อแรกพบกัน เป็นครั้งแรก
คำว่า "สวัสดี" บัญญัติโดย พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) คำว่าสวัสดี มาจากคำว่า "โสตถิ" ในภาษาบาลีหรือคำว่า "สวัสดิ" ในภาษาสันสกฤติ ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในวรรณคดีไทยและในบทสวดมนต์มานานแล้ว
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้เล่าถึงต้นเหตุเดิมไว้ว่า เจ้าหน้าที่วิทยุกระจายเสียงได้ใช้คำ "ราตรีสวัสดิ์" ลงท้ายคำพูดเมื่อจบการกระจายเสียงตอนกลางคืน โดยอนุโลมตามคำว่า "กู๊ดไนต์" (Goodnight) ของอังกฤษ แต่มีผู้ไม่เห็นด้วย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงจึงขอให้กรรมการชำระปทานุกรมของกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น ช่วยคิดหาคำให้ ในท้ายที่สุดก็ตกลงได้คำว่า "สวัสดี" ไปใช้
พ.ศ.2476 ท่านพระยาอุปกิตศิลปสาร ซึ่งในขณะนั้น ท่านเป็นอาจารย์สอนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำไปเผยแพร่ให้นิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นคำทักทายเมื่อพบกัน เป็นการทดลองก่อน อีก 62 ปีต่อมาเป็นยุคชาตินิยม จอมพล ป. จึงนำมาใช้อย่างเป็นทางการ
สวัสดี คำทักทายดีๆ ของคนไทย
คำว่า "สวัสดี" บัญญัติโดย พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) คำว่าสวัสดี มาจากคำว่า "โสตถิ" ในภาษาบาลีหรือคำว่า "สวัสดิ" ในภาษาสันสกฤติ ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในวรรณคดีไทยและในบทสวดมนต์มานานแล้ว
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้เล่าถึงต้นเหตุเดิมไว้ว่า เจ้าหน้าที่วิทยุกระจายเสียงได้ใช้คำ "ราตรีสวัสดิ์" ลงท้ายคำพูดเมื่อจบการกระจายเสียงตอนกลางคืน โดยอนุโลมตามคำว่า "กู๊ดไนต์" (Goodnight) ของอังกฤษ แต่มีผู้ไม่เห็นด้วย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงจึงขอให้กรรมการชำระปทานุกรมของกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น ช่วยคิดหาคำให้ ในท้ายที่สุดก็ตกลงได้คำว่า "สวัสดี" ไปใช้
พ.ศ.2476 ท่านพระยาอุปกิตศิลปสาร ซึ่งในขณะนั้น ท่านเป็นอาจารย์สอนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำไปเผยแพร่ให้นิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นคำทักทายเมื่อพบกัน เป็นการทดลองก่อน อีก 62 ปีต่อมาเป็นยุคชาตินิยม จอมพล ป. จึงนำมาใช้อย่างเป็นทางการ
สวัสดี คำทักทายดีๆ ของคนไทย