ข่าว IT ล่าสุด
ถูกใจอย่าลืม Like Fanpage
การสร้าง ลบ หรือจัดแบ่ง พาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ โดยใช้ fdisk
แสดงแล้ว 7407 ครั้ง /
พฤษภาคม 20, 2010, 15:17:09

,.-~*'¨¯¨'*·~-.¸-(_ (คิม) _)-,.-~*'¨¯¨'*·~-.¸

ออฟไลน์
กระทู้ : 29
คะแนนขอบคุณ : 0
การจัดพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ คือขั้นตอนของการ จัดรูปแบบการใช้งานของ ฮาร์ดดิสก์ ก่อนขั้นตอนการ ฟอร์แมต โดยที่เราสามารถ ทำการแบ่ง ฮาร์ดดิสก์ ออกเป็นขนาดต่าง ๆ เพื่อกำหนดให้ใช้งานได้ในแต่ละ Drive เพื่อความเป็นระเบียบของข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ขนาดเต็ม 8 GB อาจจะทำการแบ่งออกเป็น Drive C: ขนาด 3 GB เพื่อใช้สำหรับลง Windows และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ และทำการแบ่งเป็น Drive D: อีกส่วนหนึ่งโดยให้มีขนาดเป็น 5 GB เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ เป็นต้น
ชนิดของพาร์ติชั่น จะแบ่งออกตามชนิดของ FAT ต่าง ๆ ได้ดังนี้
·   FAT16 เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ DOS, Windows 3.1 และ Windows 95 รุ่นแรก ๆ จะรอง·   รับขนาดของ·   พาร์ติชันได้สูง·   สุดที่ 2 GB ต่อ 1 พาร์ติชั่นเท่านั้น
·   FAT32 เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ Windows 95 OSR2 และ Windows 98 สามารถรอง·   รับขนาดของ·   พาร์ติชันได้จาก 512 KB ไปจนถึง·    64 GB ต่อ 1 พาร์ติชัน
·   NTFS เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ Windows NT
ดังนั้น หากจะทำการจัดแบ่งพาร์ติชัน ให้ใช้งานฮาร์ดดิสก์ที่ขนาดมากกว่า 2 GB ต่อ 1 พาร์ติชันก็ต้องทำการสร้างพาร์ติชันแบบ FAT32 ซึ่งจะสามารถใช้งานได้ในระบบ Windows 95 OSR2 หรือ Windows 98 ขึ้นไปเท่านั้น ซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับการจัดแบ่ง พาร์ติชันของ ฮาร์ดดิสก์ แบบง่าย ๆ ก็คือโปรแกรม FDISK ที่มีมาให้กับ Windows 98 นั่นเอง โดยที่ต้องอย่าลืมว่า การใช้ FDISK จาก Windows 98 จะสามารถสร้างพาร์ติชันแบบ FAT32 ได้ แต่ถ้าหากเป็น FDISK ที่มากับ Windows 95 หรือของ DOS จะสามารถทำได้เฉพาะระบบ FAT16 เท่านั้นไม่สามารถทำเป็น FAT32 ได้
โดยปกติแล้ว ขั้นตอนการจัดแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ ไม่จำเป็นต้องทำบ่อยนัก จะทำในกรณีที่ต้องการ เปลี่ยนแปลงรูปแบบ ชนิดของ FAT หรือกำหนดขนาดของพาร์ติชันใหม่เท่านั้น ซึ่งขั้นตอนการจัดพาร์ติชันใหม่นี้ ข้อมูลทุกอย่างที่เก็บอยู่ใน ฮาร์ดดิสก์ จะหายไปทั้งหมดด้วย ดังนั้นต้องระวังหรือทำการเก็บสำรองข้อมูลที่สำคัญเก็บไว้ก่อน ในที่นี้จะยกตัวอย่างของการจัดการ และการแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ โดยการใช้คำสั่ง FDISK ที่มีมากับ Windows เพื่อเป็นการเตรียมฮาร์ดดิสก์ก่อนขั้นตอนการลง Windows ต่อไป
คำสั่ง FDISK จะสามารถหาได้จากแผ่น Windows 98 Start Up Disk ถ้าหากยังไม่มี ต้องทำการสร้างแผ่น Windows 98 Startup Disk ขึ้นมาก่อน หลังจากนั้น จึงทำการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการบูทเครื่องจากแผ่น Windows 98 Startup Disk จากนั้น พิมพ์คำสั่ง fdisk แล้วกด Enter

ถ้าฮาร์ดดิสก์มีขนาดใหญ่มากกว่า 512MB จะมีคำถามว่าต้องการสร้างพาร์ติชันขนาดใหญ่หรือไม่ หรือเป็นการถามว่า ต้องการใช้งานแบบ FAT32 หรือไม่นั่นเอง หากตอบ [N] ก็จะเป็นการกำหนดให้ใช้งานแบบ FAT16 หรือเหมือนกับการใช้ FDISK ของ DOS หรือ Windows 95 รุ่นเก่าไป แต่ถ้าต้องการแบ่งพาร์ติชันแบบ FAT32 ก็ให้กด [Y]

เมนูหลักสำหรับการใช้งานแบบต่าง ๆ โดยปกติแล้วจะมีแค่ 4 รายการ แต่ถ้าหากมีการต่อฮาร์ดดิสก์มากกว่า 1 ตัว จะมีเมนูที่ 5 คือ Change current fixed disk drive สำหรับเลือกว่าจะทำงานกับ ฮาร์ดดิสก์ ตัวไหนให้เลือกด้วย การแสดงข้อมูลของ พาร์ติชัน ต่าง ๆ ทำโดยเลือกที่เมนู 4. Display partition information

เมนูของการแสดงพาร์ติชัน (เลือกจากเมนู 4. จากเมนูหลัก) จะแสดงข้อมูลต่าง ๆ ของพาร์ติชัน ในฮาร์ดดิสก์ จะเห็นรายละเอียดและการกำหนดรูปแบบการใช้งานต่าง ๆ รวมถึงการจัดแบ่งขนาดต่าง ๆ ด้วย ในกรณีที่เป็น ฮาร์ดดิสก์ ที่ยังไม่ได้ทำการจัดพาร์ติชัน ก็จะไม่มีข้อมูลแสดงให้เห็น เราสามารถกดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลัก

เมนูของการลบพาร์ติชัน (เลือกเมนู 2. จากเมนูหลัก) จะมีเมนูให้เลือกรายการลบพาร์ติชันต่าง ๆ ซึ่งขออธิบายความหมายของแต่ละพาร์ติชัน ดังนี้
·   Primary DOS Partition เป็นพาร์ติชันหลักของ·   ฮาร์ดดิสก์
·   Extended DOS Partition เป็นพาร์ติชันถัดไปของ·   ฮาร์ดดิวก์
·   Logical DOS Drive(s) จะเป็นการกำหนดขนาดต่าง·    ๆ ที่อยู่ใน Extended DOS Partition อีกที ซึ่ง·   สามารถกำหนดการสร้าง·   ได้หลาย ๆ Drive ตามต้อง·   การ
·   Non-DOS Partition เป็นพาร์ติขันในระบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ระบบของ·    DOS
ในการลบพาร์ติชัน จะต้องทำการลบโดยเรียงลำดับข้อมูลด้วย เช่นต้องลบ Logical DOS Drive ออกให้หมดก่อนจึงจะลบ Extended DOS Partition ได้ และหลังจากนั้น จึงทำการลบ Primary DOS Partition ตามลำดับต่อไป

หากทำการลบพาร์ติชันต่าง ๆ ข้อมูลทุกอย่างที่เก็บอยู่ในพาร์ติชันนั้น ๆ จะหายไปหมด ดังนั้นเมื่อจะทำการลบพาร์ติชัน จะมีการถามยืนยันการลบ โดยให้ใส่ Volume Label ของฮาร์ดดิสก์นั้นก่อนด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการลบข้อมูล โดยไม่ได้ตั้งใจหรือลบผิดพาร์ติชัน ดังนั้น หากจะทำขั้นตอนนี้ ต้องใช้ความระมัดระวังและอ่านรายละเอียดต่าง ๆ ให้รอบคอบก่อน

เมนูของการสร้างพาร์ติชัน (เลือกเมนู 1. จากเมนูหลัก) จะเป็นการสร้างพาร์ติชันแบบต่าง ๆ ซึ่งจะคล้าย ๆ กับเมนูของการลบพาร์ติชัน คือจะมีการสร้าง Primary DOS Partion, Extended DOS Partition และการสร้าง Logical DOS Drive ใน Extended DOS Partition ปกติแล้วก็จะสร้างเรียงตามลำดับตามต้องการ

กรณีที่เลือกสร้าง Primary DOS Partition เป็นอักแรก จะมีเมนูถามว่า ต้องการใช้พื้นที่ทั้งหมดในฮาร์ดดิสก์สำหรับทำเป็น Primary DOS Partition หรือไม่ หากต้องการใช้พื้นที่ทั้งหมดสร้างเป็น Drive เดียวก็เลือก [Y] แต่ถ้าหากต้องการระบุขนาดต่าง ๆ ของพาร์ติชันด้วยตัวเอง ก็เลือกที่ [N] เพื่อกำหนดขนาดเอง

จากรูป ถ้าหากเลือกที่จะกำหนดขนาดของ Primary DOS Partition เองโดยเลือก [N] จากขั้นตอนที่แล้ว จะมีเมนูให้ใส่ขนาดของ Primary DOS Partition ตามต้องการ โดยอาจจะใส่เป็นตัวเลขจำนวนของ MB หรือใส่เป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ก็ได้ จากตัวอย่างสมมติว่ากำหนดขนาดเป็น 70% ของจำนวนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด ก็ใส่ 70% แล้วกด Enter

หลังจากนั้น ก็ทำการสร้าง Extended DOS Partiton จากส่วนของพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ที่เหลือ โดยการเลือกเมนูที่ 2. Create Extended DOS Partition ทำการกำหนดขนาดของพื้นที่ตามที่ต้องการ จากตัวอย่างคือจะใช้พื้นที่ 30% ที่เหลือทั้งหมด โดยการกำหนดขนาดนี้อาจจะใส่เป็ยตัวเลขจำนวน หรือใส่เป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ ก็ได้แล้วกด Enter

หลังจากที่สร้าง Extended DOS Partition แล้วจะมีการแสดงรายละเอียดของการแบ่งพาร์ติชันต่าง ๆ ให้ดูตามรูป

ในส่วนของ Logical Drive จะเป็นการสร้างขึ้นภายในของ Extended DOS Partition อีกที ซึ่งการกำหนดขนาดของพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ก็กำหนดขนาดตามต้องการ หรือถ้าต้องการแบ่งในส่วนของ Extended DOS Partition ออกเป็นหลาย ๆ Drive ก็สามารถทำการกำหนดแบ่งได้จากส่วนของ Logical Drive นี้

หลังจากที่ทำการสร้างและจัดแบ่งพาร์ติชันต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว เมื่อกลับมาที่เมนูหลัก จะมีคำเตือนว่าไม่มีการกำหนดพาร์ติชันไหน active อยู่เลย ต้องทำการกำหนดพาร์ติชันที่สร้างขึ้นมาให้เป็น active partition ด้วยเพื่อให้สามารถใช้บูทเครื่องได้ การกำหนดทำโดยการเลือกที่เมนู 2. Set active partition

ใส่หมายเลขของ Partition ที่ต้องการให้เป็น active partition และกด Enter

เมื่อเลือกที่เมนู 4. เพื่อดูรายละเอียดต่าง ๆ ก็จะเห็นลักษณะการจัดและแบ่งพาร์ติชันในฮาร์ดดิสก์ รวมถึงพาร์ติชันที่ตั้งให้เป็น active partition ด้วย

หลังจากที่ทำการกำหนดและแบ่ง Partition ต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกจากโปรแกรม FDISK ก็จะมีข้อความเตือนว่า ให้ทำการ Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ก่อน การจัดพาร์ติชันต่าง ๆ จึงจะมีผลและทำการ format ฮาร์ดดิสก์ต่อไป
การจัดแบ่งพาร์ติชันของ ฮาร์ดดิสก์นี้ โดยปกติแล้ว จะไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้งที่ลง Windows ใหม่ ซึ่งจะทำการจัดพาร์ติชัน ก็ต่อเมื่อต้องการจัดแบ่งขนาดของ ฮาร์ดดิสก์ใหม่ หรือต้องการลบข้อมูล ให้สะอาดจริง ๆ เนื่องจากเกิดการติดไวรัส เครื่องคอมพิวเตอร์ เท่านั้น และอย่าลืมว่า การทำ FDISK นี้ข้อมูลทุกอย่างที่มีอยู่ใน ฮาร์ดดิสก์ จะหายไปทั้งหมดด้วย จึงควรจะต้องใช้ความระมัดระวัง ในการทำทุก ๆ ขั้นตอน
 8)


Moshi

ออฟไลน์
กระทู้ : 16,996
คะแนนขอบคุณ : 45
it4x สังคมแห่งการเรียนรู้
พฤษภาคม 20, 2010, 17:00:49
น่าจะมีภาพประกอบซักหน่อย -- *

MoAme

ออฟไลน์
กระทู้ : 41
คะแนนขอบคุณ : 0
สิงหาคม 18, 2010, 09:48:50
หาวิธีใช้อย่เลย

 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ระวัง: หัวข้อนี้ไม่มีการอัพเดทมานานถึง 120 วัน

แจ้งเตือน: โพสของคุณจะไม่แสดงจนกว่าผู้ดูแลจะอนุมัติ.
ชื่อ: อีเมล์: