ระบบของเซนเซกจะไม่เหมือนกับการโต้ตอบระบบสัมผัสเชิงกลที่ใช้การสั่น เพื่อช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกถึงตำแหน่งการแตะบนหน้าจอสัมผัส แต่จะใช้สนามไฟฟ้าในการจำลองความรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนที่ปลายนิ้วแทน โดยชั้น (layer) ที่ใช้ปิดบนหน้าจอสัมผัสของเซนเซกจะมีความอ่อนนุ่ม ทำให้มันสามารถสร้างความรู้สึกของการสัมผัสทีไม่ใช่แค่จอแบนๆ ได้ อย่างเช่น การสร้างพื้นผิวบนหน้าจอให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนได้สัมผัสวัตถุพวกไม้ หรือหนัง เป็นต้น
แผนกระบบข้อมูลข่าวสารของโตชิบากล่าวว่า โดชิบาได้พัฒนาฟิล์มเซนเซกให้เป็น "New Sensation UI Solution" ของทางบริษัทเอง โดยคาดว่าจะใช้มันในเครื่องอ่านอีบุ๊ก โน้ตบุ๊ก และมือถือ ทั้งนี้การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะไม่ทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์แพงขึ้นจนรู้สึกได้ เนื่องจากหากผลิตในระดับแมสต้นทุนน่าจะแค่ 0.10-0.20 เหรียญฯ (ประมาณ 3 - 7 บาทเท่านั้น)
ข้อมูลจาก: crunchgear
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=411321