Scareware มักจะใช้วิธีป๊อปอัพ โดยพวกมันอ้างว่าตรวจพบไวรัสในเครื่องของคุณ แต่ความจริงมันนั่นล่ะคือไวรัส หรือมัลแวร์ตัวร้าย ซึ่งผู้ใช้เพิ่งจะยินดีต้อนรับมันเข้าไปในเครื่องหลังจากคลิกให้มันช่วยจัดการให้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า Scareware แฝงอันตรายที่ร้ายแรงสองประการด้วยกันคือ การที่ผู้ใช้หลงเชื่อให้ข้อมูลบัตรเครดิต เพื่อให้มันช่วยกำจัดไวรัส ในขณะเดีวกัน มันจะดาวน์โหลดเพื่อนๆ ตัวร้ายของมันเข้ามาในเครื่องของคุณอีกด้วย ซึ่งนอกจากจะถูกขโมยข้อมูลบัตรเดรดิตไปแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ยังถูกป่วนด้วยมัลแวร์ต่างๆ ที่ดาวน์โหลดเข้ามาในเครื่องอีกด้วย
สถิติในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา Scareware แพร่ระบาดอย่างหนัก โดยไมโครซอฟท์กล่าวว่า Malicious Software Removal Tool ของทางบริษัทได้ทำความสะอาดพีซีที่โดน Scareware เล่นงานแล้วไม่ต่ำกว่า 8 ล้านเครื่อง อย่างไรก็ตาม มันยังไม่มีวิธีตรวจจับพวกมันได้ 100% คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ ควรติดตั้งซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณจะดีกว่า เพราะหากป๊อปอัพที่โผล่ขึ้นมาไม่ใช่แอนตี้ไวรัสที่คุณติดตั้งเข้าไป ก็ไม่ควรจะคลิกยอมรับมัน (หรือบริเวณใดๆ บนไดอะล็อกบ๊อกซ์ที่ปํอปอัพขึ้นมา) และไม่มีบริการของแอนตี้ไวรัสตัวใดที่ใช้วิธีนี้ เพื่อเรียกร้องค่าบริการนับ 100 เหรียญฯ (ประมาณ 3,400 บาท) จากผู้ใช้ ยังไงก็กันไว้ดีกว่าแก้ และอย่าเชื่อพวกมันโดยง่าย
ข้อมูลจาก: wspa
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=411435