ข่าว IT ล่าสุด
ถูกใจอย่าลืม Like Fanpage
[it] ชาวออนไลน์กว่า 25% เป็น"ตัวปลอม"
แสดงแล้ว 1370 ครั้ง /
กันยายน 09, 2010, 09:31:31

Moshi

ออฟไลน์
กระทู้ : 16,996
คะแนนขอบคุณ : 45
it4x สังคมแห่งการเรียนรู้
      งานวิจัยชิ้นล่าสุดในสหรัฐฯระบุว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 25% โกหกเกี่ยวกับชื่อ และมากกว่า 20% ทำเรื่องที่น่าเศร้าใจบนนั้น ข้อมูลดังกล่าวมาจากการทำวิจัยในหัวข้อผลกระทบของการใช้ชีวิตออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรม และจิตวิทยา ซึ่งจัดทำโดย Norton บริษัทผู้เชี่ยวชาญระบบรักษาความปลอดภัย


     
 

ผลวิจัยดังกล่าวยังระบุอีกว่า สองในสามของผู้ใช้เว็บเคยถูกโจมตีโดยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มาแล้ว ทั้งในรูปแบบของความสูญเสียที่เป็นตัวเงิน และเวลา ประมาณ 17% ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามของ Norton บอกว่า พวกเขามักจะโกหกเกี่ยวกับอายุ และที่อยู่ ในขณะที่ 9% จะโกหกเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน หรือสถานะความสัมพันธ์ (โสด หรือมีครอบครัวแล้ว) และอีก 7% จะโกหกเรื่องหน้าตาความไม่สวยหล่อของตนเอง 

รายงาน Norton Cybercrime Report: The Human Impact ไม่ได้เปิดเผยแค่เรื่องราวของผู้ใช้เว็บที่โดนโจมตีจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หรือไวรัส และมัลแวร์เท่านั้น แต่ยังแจงข้อมูลความสูญเสียที่เกิดขึ้นของเหยื่อในประเทศต่างๆ อีกด้วย เช่น ในสหราชอณาจักร ประมาณ 59% ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยตกเป็นเหยื่อแล้ว ซึ่งเหยื่อที่โดนเล่นงานส่วนใหญ่บอกว่าต้องใช้เวลาแก้ปัญหาประมาณ 25 วัน โดยเฉลี่ยเสียเงินไป 153 เหรียญฯ (ประมาณ 4,800 บาท) ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในบราซิล และอินเดียใช้เวลาในการแก้ปัญหานานสุดคือ 43 และ 44 วันตามลำดับ โดยในบราซิลจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงสุดเพื่อแก้ปัญหาประมาณ 1,408 เหรียญฯ (ประมาณ 45,000 บาท) ส่วนอินเดียเฉลี่ยอยู่ที่ 114 เหรียญฯ (ประมาณ 3,600 บาท) แต่สำหรับสวีเดนจะแก้ปัญหาเร็วสุดแค่ 9 วัน แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยเฉลียถึง 178 เหรียญฯ (ประมาณ 5,500 บาท) การสำรวจครั้งนี้มีผู้รวบตอบแบบสอบถาม 7,000 รายใน 14 ประเทศ ซึ่ง 65% ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยตกเป็นเหยื่อมาแล้ว โดย 58% รู้สึกโกรธมากกับสิ่งที่เกิดขึ้น ในขณะที่ 51% รู้สึกรำคาญที่ถูกรบกวน และ 40% รู้สึกถูกหลอก

นอกจากนี้ในรายงานดังกล่าว ยังมีการถามถึงจริยธรรมส่วนบุคคลด้วย โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวนไม่น้อยเหมือนกันที่ยังคงรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องถูกกฎหมายสำหรับการดาวน์โหลดเพลงหนึ่งเพลง (17%) หรือทั้งอัลบัม (14%) ตลอดจนภาพยนต์ (15%) โดยไม่ต้องจ่ายเงิน ในขณะที่ 17% มองว่า การกระทำดังกล่าวพอจะยอมรับได้ ผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 1 ใน 3 มีอีเมล์ที่ไม่ใช่ตัวเอง หรือโพสต์ภาพถ่ายคนอื่นแทน โดยไม่ได้ขออนุญาติจากเจ้าของภาพ และหนึ่งในสี่เคยแอบดูข้อมูลของคนอื่นผ่านทาง history ของบราวเซอร์ Orla Cox ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการของ Symantec กล่าวว่า "มันเป็นเรื่องน่าประลาดใจมากที่คนส่วนใหญ่ ในขณะที่พวกเขาต้องการได้ข้อมูลเกียวกับคนอื่นๆ จากบนเว็บ แต่พวกเขาเองก็ชอบที่จะปลอมตัวเป็นคนอื่น เพื่อปกปิดข้อมูลของตัวเอง ดังนั้นมันจึงไม่ง่ายเลยที่จะระบุตัวตนบนเว็บที่เป็นตัวจริง"

ข้อมูลจาก: pcmag

แสดงบนเว็บไซด์ : [direct]http://www.it4x.com[/direct]

ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: [direct]http://www.arip.co.th/news.php?id=412168[/direct]


 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ระวัง: หัวข้อนี้ไม่มีการอัพเดทมานานถึง 120 วัน

แจ้งเตือน: โพสของคุณจะไม่แสดงจนกว่าผู้ดูแลจะอนุมัติ.
ชื่อ: อีเมล์: