บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ "เท่านั้น"(อยากลืมส่งต่อให้เพื่อนชาวพุทธเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง) เราได้รับการปลูกฝังความเชื่อว่า การกินเจ คือการไม่กินเนื้อสิ่งมีชีวิต ซึ่งนำมาซึ่งการเบียดเบียนชีวิตสัตว์ที่น้อยลง เราจะได้บุญจากการกินเจตัวผมเองที่ผ่านมาช่วงที่ตั้งใจกินเจ ก็จะคิดว่าได้บุญไปด้วยทำความสะอาดลำไส้ไปด้วย แต่จริงๆแล้วการทานเจ ได้บุญจริงหรือ ? การทานเจแล้วได้บุญเป็นความเชื่อจากไหน ? ในยุคพุทธกาล(พระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่) พระเจ้าเทวทัตได้ขอให้พระพุทธเจ้าเพิ่มวินัย(ข้อห้าม)สำหรับพระสงฆ์เพิ่มอีก 5 ข้อ และหนึ่งในนั้นก็คือ "ห้ามกินเนื้อสัตว์"เพราะการกินเนื้อสัตว์จะเป็นการเบียดเบียนชีวิตอื่นแต่พระพุทธเจ้าไม่เห็นด้วย ส่วนหนึ่งก็เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ขอคนอื่นทานหากไม่ทานเนื้อสัตว์ จะกลายเป็นผู้กินยากอยู่ยาก และเป็นการสร้างความลำบากให้กับชาวบ้านทั่วไปที่ต้องการจะถวายอาหาร พระพุทธเจ้าได้บัญญัติว่าเนื้อที่ไม่ควรทานมี 10 อย่างคือเนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อสุนัข เนื้องูส่วนการทานเนื้ออื่นจะบาปเมื่อ ได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อถวายตน เช่น พระได้รับนิมนต์จากชาวบ้าน ตอนเดินผ่านหน้าบ้านเห็นไก่ 1 ตัว ชาวบ้านบอกว่าเดี๋ยวจะทำไก่บ้านต้มให้กิน แล้วชาวบ้านก็หายไปสักพักแล้วก็ยกไก่บ้านต้มมาให้กิน แบบนี้ฉันไม่ได้ บาป เพราะได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อถวายตนแต่ถ้าพระไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ยิน ชาวบ้านฆ่าไก่ไว้แล้วทำไก่บ้านต้มเสร็จแล้วพระถึงมาแล้วชาวบ้านก็ยกไก่บ้านต้มมาให้ฉัน แบบนี้ฉันได้ เพราะไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้ว่าเขาฆ่าเพื่อถวายให้ตนนี่ขนาดเป็นพระซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุธรรม พระพุทธเจ้ายังไม่ห้ามกินเนื้อสัตว์เลยนะครับ คำถามที่สำคัญก็คือ การงดเว้นการกินเนื้อสัตว์(เจหรือมังฯ) เป็นคำสอนในพุทธศาสนาหรือไม่ ?คำตอบก็คือ "ไม่ใช่" พระพุทธเจ้าไม่ได้สนับสนุน ไม่ได้สรรเสริญ เพราะการไม่ทานเนื้อสัตว์ไม่ได้ทำให้บรรลุธรรมหรือบารมีใดเป็นพิเศษเลยและพระพุทธเจ้าก็ทรงฉันเนื้อสัตว์ตามปกติ ไม่ได้กินเจหรือมังฯ ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การทานเนื้อสัตว์ไม่บาปข้อฆ่าสัตว์(ปานาติบาต)เพราะเราจะบาปเมื่อเราฆ่า ส่งเสริมให้ฆ่า ยินดีที่เขาฆ่า ชื่นชมที่เขาฆ่า "สัตว์ที่มีชีวิต" เท่านั้นการที่เรากินเนื้อสัตว์โดย ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้ว่าเขาฆ่าเพื่อเรา "ไม่บาป" เพราะถือว่าเรากินเนื้อที่ตายแล้ว ส่วนบาปจากการทำให้สัตว์นั้นตายจะตกอยู่กับคนฆ่าส่วนคนกินไม่บาปเปรียบเทียบง่ายๆว่า สิงโตฆ่ากวาง แต่ไม่กิน แล้วแร้งมากิน หากเราเป็นกวางที่ถูกฆ่า เราจะโกรธสิงโตหรือแร้ง คำตอบก็คือเราโกรธสิงโต(คุณมาทำร้ายฉันทำไม)ฉันใดฉันนั้นเมื่อโกรธสิงโตที่เป็นผู้ฆ่า แปลว่าบาปจะตกอยู่กับผู้ฆ่า ผู้กินไม่บาป ประเด็นที่คนมักจะเอามาอธิบายว่าการไม่ทานเนื้อสัตว์ คือการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์การกินเนื้อสัตว์เป็นการทำให้มีการฆ่าสัตว์มากขึ้น หากกินเนื้อสัตว์น้อยลง ก็จะทำให้คนฆ่าสัตว์น้อยลง เราจึงได้บุญเราก็ต้องมองบนพื้นฐานของความเป็นจริงที่ว่า พืชที่เรากินนั้น คนปลูกพืชก็ต้องฆ่าสัตว์จำนวนมากก่อนที่เราจะได้กินเช่น การปลูกข้าว ต้องฆ่าแมลงและสัตว์มากมายในตอนที่ปลูกและแม้แต่ตอนขนส่งและเก็บรักษาก่อนจะมาถึงเราก็มีการฆ่าสัตว์มากมายเพื่อให้มาถึงเราการกินพืชก็ทำให้มีการฆ่าสัตว์มากขึ้นด้วยเช่นกันถ้าการกินอาหารที่ส่งเสริมให้ฆ่าสัตว์เราจะบาป ก็น่าคิดว่าเรากินสเต็ก 1 จาน กับกินผัก 1 จานอันไหนจะบาปมากกว่ากัน ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การไม่ทานเนื้อสัตว์ไม่ได้บุญอะไรพิเศษเพราะในบุญกิริยา 10 ซึ่งเป็นเรื่องการทำบุญและการสร้างบารมี 10 ชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า(ชาดก)ก็ไม่มีเรื่องการไม่ทานเนื้อสัตว์เลยแม้แต่นิดเดียว !หากการไม่ทานเนื้อสัตว์ได้บุญ วัว ควาย จะได้บุญมากมายมหาศาลเพราะไม่กินเนื้อสัตว์ตลอดชีวิตและแปลว่า วัว ควาย มีบุญกว่าเราเพราะได้เกิดมามีชีวิตที่ได้สร้างบุญมากมายขนาดนั้น งั้นเรามาเกิดเป็นวัว ควาย จะดีกว่าเกิดเป็นคน เพราะสร้างบุญบารมีได้มาก(ล้อเล่นนะ) สรุปว่า การไม่ทานเนื้อสัตว์แล้วได้บุญได้บารมี ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่คำสั่งสอนในพุทธศาสนา และไม่ได้บุญไม่ได้บารมีใดไทั้งสิ้นใครที่นับถือศาสนาพุทธแล้วเชื่อว่า ไม่ทานเนื้อสัตว์แล้วได้บุญบารมี ถือว่ามีความเห็นผิดส่วนใครที่เชื่อว่าไม่กินเนื้อสัตว์แล้วได้บุญบารมี ก็ต้องถามตนเองก่อนว่าความเชื่อนี้เป็นของลัทธิใดหรือศาสนาใด หรือเป็นเพียงเรื่องที่เชื่อต่อๆกันมาเท่านั้นวันนี้หากเรานับถือศาสนาพุทธ เราก็ควรจะเชื่อพระศาสดาของเราซึ่งก็คือพระพุทธเจ้า เรื่องของบุญบาปนั้นเป็นเรื่องสากลเป็นกฎธรรมชาติ ที่แปลว่าไม่ว่าเราจะเชื่อแบบไหนนับถือแบบไหนสิ่งที่บาปก็ยังบาปอยู่วันยังค่ำ สิ่งที่เป็นบุญก็ยังเป็นบุญอยู่วันยังค่ำการเปลี่ยนความเชื่อหรือศาสนาไม่ได้ทำให้เราได้บุญหรือบาปที่เปลี่ยนไปเลยเหมือนนักกีฬาโอลิมปิกไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกันในส่วนของข้อขัดแย้งในความเชื่อของแต่ละศาสนานั้น ก็จะขึ้นอยู่กับว่าเราจะโชคดีที่ได้เชื่อในศาสนาที่เข้าใจกฎธรรมชาติได้ถูกต้องหรือไม่หากเราอยากจะทานเจเพราะสบายใจ เพราะตามกระแส หรือเพื่อสุขภาพ ก็สามารถทานได้แต่หากเราจะทานเพื่อให้ได้บุญ ได้บารมี ก็ต้องคิดทบทวนอีกครั้งเพราะอาหารเจนั้นส่วนใหญ่จะได้โปรตีนน้อยกว่าปกติจะทำให้เราขาดสารอาหารและหิวง่าย
ส่วนอาหารเจที่มีโปรตีนจากพืชผสมก็มักจะแพงกว่าอาหารปกติหลายเท่า และในศาสนาพุทธ การไม่กินเนื้อสัตว์(เจหรือมังฯ) ไม่ได้บุญหรือบารมี
ส่วนอาหารเจที่มีโปรตีนจากพืชผสมก็มักจะแพงกว่าอาหารปกติหลายเท่า และในศาสนาพุทธ การไม่กินเนื้อสัตว์(เจหรือมังฯ) ไม่ได้บุญหรือบารมี