ความลับของความสำเร็จในครั้งนี้ก็คือ เอ็นไซม์ (enzyme) ที่อยู่ในตัวแมลงสาบ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการปลูกถ่ายเซลล์ชีวะได้ด้วยการแยกโมเลกุลน้ำตาลให้อยู่ในฟอร์มง่ายๆ ที่เรียกว่า "โมโนแซคคาไลด์" (monosaccharides) ในขณะที่เอ็นไซม์ตัวที่สองจะทำให้โมโนแซคคาไลด์รวมตัวกับออกซิเจน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ มันจะปล่อย "อิเล็กตรอน" ออกมา หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้านั่นเอง
อย่างไรก็ตาม กำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะน้อยมาก เพียงแค่ 100 ไมโครวัตต์เท่านั้น แต่แนวคิดยังไม่จบเพียงแค่นี้ เพราะทีมวิจัยหวังว่าจะสามารถนำกระแสไฟฟ้านี้ไปใช้เป็นแหล่งพลังงานขนาดเล็กสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ฝังอยู่ในตัวแมลงสาบ เพื่อเปลี่ยนให้มันเป็น"ไซบอร์ก"ขนาดจิ๋ว (โอ้ว...มายก๊อด) ซึ่งสามารถควบคุมให้แมลงสาบเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการได้ แต่วิธีควบคุมไซบอร์ก"แมลงสาบ"ยังคงเป็นโจทย์ของทีมวิจัยที่ต้องหาทางกันต่อไป นอกจากนี้ ทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเซิร์ฟยังบอกอีกด้วยว่า แมลงสาบเหล่านี้จะไม่ได้รับบาดเจ็บจากกระบวนการดังกล่าวแต่อย่างใด และมันยังคงสามารถใช้ชีวิตได้อย่างแมลงสาบปกติหลังจากถอดกลไกของไซบอร์กออกไปแล้ว นี่มันข่าวดีสำหรับนีโอเลยนะเนี่ย :D
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=414833