ข่าว IT ล่าสุด
ถูกใจอย่าลืม Like Fanpage
แก้ไขปัญหา NTLDR is missing(ฉบับปรับปรุง)
แสดงแล้ว 6135 ครั้ง /
กรกฎาคม 25, 2009, 17:02:37

Moshi

ออฟไลน์
กระทู้ : 16,996
คะแนนขอบคุณ : 45
it4x สังคมแห่งการเรียนรู้
แก้ไขปัญหา NTLDR is missing(ฉบับปรับปรุง)

ไฟล์ NTLDR หรือชื่อเต็มๆว่า NT Loader นั้นเป็นไฟล์ที่จำเป็นต้องใช้ในขั้นตอนของการ Boot เข้าระบบ Windows ซึ่งไฟล์นี้จะไม่มีนามสกุลนะครับไม่ต้องตกใจว่านามสกุลมันหายไปไหน โดยไฟล์ NTLDR นี้จะอยู่ใน Root ของ Drive ที่มีการลงระบบปฎิบัติการไว้(โดยมากจะเป็น Drive C) ดังนั้นเมื่อไฟล์ NTLDR หายไปเราจะไม่สามารถที่จะ Boot เข้าระบบได้เลยครับ ซึ่งสาเหตุของการหายนั้นบางครั้งก็เกิดจากตัวไวรัส หรือบางครั้งก็เป็นปัญหาของตัว Windows เองที่ทำให้หายไป แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ถ้าไฟล์นี้หายไปเมื่อเราเปิดเครื่องขึ้น มามันจะขึ้นเป็นหน้าจอดำๆว่า NTLDR is missing พร้อมกับ Cursor กระพริบๆ



วิธีการแก้ไขก็ตรงไปตรงมาครับ มันหายไปก็เอาไปใส่คืนให้สิ แต่จะใส่ยังไงล่ะในเมื่อเข้า Windows ก็ไม่ได้ สำหรับการแก้ไขนั้นผมขอแบ่งเป็น 2 กรณีนะครับ
            กรณีแรกคือเครื่องที่มีปัญหามี Floppy Disk หรือที่มักเรียกกันว่า Drive A นั่นล่ะครับ สำหรับในกรณีนี้ให้เราโหลดโปรแกรม DKDC_Boot แล้ว นำแผ่น Disk ที่มีการ Format เรียบร้อยแล้วใส่เข้าไปใน Drive A แล้วเรียกโปรแกรม DKDC_Boot ขึ้นมา ในระหว่างนั้นจะมีหน้าจอ Dos ดำๆขึ้นมา เมื่อหน้าต่าง Dos ดำๆนั้นหายไปก็แสดงว่าเสร็จขั้นตอนในการสร้างแผ่น Boot ของเราแล้วล่ะครับ



ให้เรานำแผ่น Boot ที่ได้นี้ไปในใส่ใน Drive A ของเครื่องที่มีปัญหาแล้วเปิดเครื่องตามปกติ ที่สำคัญคืออย่าลืมตั้งค่าใน Bios ให้ Boot จาก Floppy Disk ด้วยนะครับ
         จะเห็นว่ามีการเข้า Windows ได้ตามปกติแล้วล่ะครับ แต่ตอนนี้ Windows มันยังอ่านไฟล์ NTLDR จาก Drive A อยู่นะครับ ดังนั้นให้เราทำการ Copy ไฟล์ NTLDR จาก Drive A ไป Paste ไว้ใน Drive C ของเราก่อนนะครับ คราวหน้ามันจะได้เข้า Windows ได้โดยไม่ต้องใช้แผ่น A หรือใครจะประยุกต์ไปใช้รักษาความปลอดภัยเครื่องที่ไม่อยากให้คนอื่นมาเปิดก็ ได้นะครับ คือทิ้งไว้แบบนี้ล่ะถ้าไม่มีแผ่น Boot นี้ถึงใครเปิดเครื่องมาก็ใช้ไม่ได้เพราะติด NTLDR is missing นั่นเองครับถ้าจะเข้า Windows ได้ต้องใส่แผ่น A นี้เท่านั้น

สำหรับกรณีเครื่องรุ่นใหม่ๆหรือ Notebook ที่ไม่มี  Floppy Disk นั้นโดยส่วนใหญ่แล้วใน Bios จะมีการเลือกให้ Boot จาก USB Drive ได้ ดังนั้นเราจะต้องทำการ Boot ด้วยแฟลชไดรฟ์แทนเพื่อจะแก้ปัญหานี้ได้ครับ เดี๋ยวเราจะมาสร้างแฟลชไดรฟ์ ซึ่งใช้ในการ Boot กันครับ ขั้นแรกให้โหลดไฟล์ Boot.zip แล้วทำการ Unzip ออกมาซึ่งจะเห็นว่ามีไฟล์ COMMAND.COM และ IO.SYS อยู่ในนั้นนะครับ ให้เก็บไว้ก่อนยังไม่ได้ใช้ในตอนนี้ครับ

ขั้นต่อมาให้โหลดไฟล์ SP27213.exe ซึ่งเป็นโปรแกรมในการ Format แฟลชไดรฟ์ให้ Boot ได้ของ HP ไปติดตั้งก่อนนะครับ โดยผมขอข้ามขั้นตอนของการติดตั้งไปนะครับเพราะไม่มีอะไรครับ Next กับ OK อย่างเดียว
           เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยให้เราเรียก Shortcut ชื่อ HP USB Disk Storage Format Tool จากหน้า Desktop ขึ้นมา แต่ก่อนที่จะเรียกโปรแกรมนั้นให้เราเอาแฟลชไดรฟ์ ที่จะใช้ทำตัว Boot เสียบไว้ที่เครื่องก่อนนะครับ และที่สำคัญคือแฟลชไดรฟ์ นั้นควรจะมีการสำรองข้อมูลภายในไว้ก่อนนะครับเพราะจะต้องทำการ Format ซึ่งทำให้ข้อมูลในแฟลชไดรฟ์นั้นๆหายไปทั้งหมดครับ



ในช่อง Device จะเป็นชื่อของตัวแฟลชไดรฟ์ ของเรา ซึ่งในจุดนี้กรณีที่มีการเสียบแฟลชไดรฟ์ ไว้หลายๆตัวให้ตรวจสอบให้ดีนะครับว่าเป็นตัวแฟลชไดรฟ์ที่เราต้องการ Format ถ้าผิดก็เลือกให้ถูกตัวนะครับ ไม่งั้นเดี๋ยว Format ผิดตัวไปจะแย่นะครับ ในช่อง File system ให้เลือกเป็น FAT32 และในส่วนของ Volume label ก็แล้วแต่เราจะตั้งชื่อ Drive ล่ะครับใส่อะไรก็ได้ครับ
           

             ต่อมาให้ทำเครื่องหมาย ถูกที่ช่องหน้า Quick Format เพื่อจะได้ไม่ต้องรอนานกรณีที่แฟลชไดรฟ์ เรามีความจุมากๆ และทำเครื่องหมายถูกที่หน้า Create a DOS startup disk ด้วยนะครับ ตรงนี้ล่ะจุดสำคัญที่จะทำให้แฟลชไดรฟ์ของเรา Boot ได้
หลังจากนั้นให้กดปุ่ม ... ใต้ using  DOS system files located at: แล้วเลือกไปที่โฟลเดอร์ที่เราเก็บไฟล์ที่ได้มากจากการ Unzip ไฟล์ Boot.zip ที่โหลดมาในขั้นตอนแรกนั่นล่ะครับ โดยตามตัวอย่างผมเก็บไว้ที่ D:\Boot ครับ



 เมื่อเรียบร้อยแล้วให้กดปุ่ม Start เพื่อเริ่มกันเลยครับ โดยจะมีหน้าต่างเตือนว่าข้อมูลในแฟลชไดรฟ์ นั้นๆจะสูญหายเพราะจะมีการ Format นะ ให้เราตรวจสอบอีกครั้งนะครับว่าชื่อของแฟลชไดรฟ์ที่มีการแจ้งว่าจะ Format นั้นถูกตัวแน่นอน ถ้าเราตรวจสอบแล้วมั่นใจว่าถูกต้องก็ให้ตอบ Yes เพื่อดำเนินการต่อไปครับ



เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีหน้าต่างรายงานผลการทำงานขึ้นมา



            โดยถ้าเราเข้าไปดูในแฟลชไดรฟ์ ที่ทำการ Format ไปจะเห็นว่ามีไฟล์อยู่ภายใน 2 ไฟล์คือ COMMAND.COM และ IO.SYS หมายเหตุว่าเราต้องทำการเปิดแสดงไฟล์ซ่อนและไฟล์ระบบจากใน Folder Options ไว้ด้วยนะครับไม่งั้นจะมองไม่เห็น หลังจากนั้นให้เราเข้าไปที่ Drive C แล้วทำการ Copy ไฟล์ NTLDR และ NTDETECT.COM มา Paste ไว้ในแฟลชไดรฟ์ก่อนนะครับ

           จากนั้นให้โหลดไฟล์ NTLDR_Fix.zip ซึ่งเมื่อทำการ  Unzip ออกมาแล้วจะเห็นว่ามีไฟล์อยู่ 3 ไฟล์คือ Autoexec.bat, boot.ini และ bootpart.exe ให้ทำการก๊อบปี้ทั้ง 3 ไฟล์ที่ว่าใส่ลงไปในแฟลชไดรฟ์ด้วยนะครับ




เพียงเท่านี้เราก็สามารถที่จะนำแฟลชไดรฟ์นี้ไปใช้บู๊ตเครื่องเพื่อแก้ไข ปัญหาได้แล้วล่ะครับ แต่เมื่อบู๊ตด้วยแฟลชไดรฟ์อันนี้นั้น ในครั้งแรกมันจะยังไม่เข้า Windows นะครับ มันจะขึ้นหน้าจอของ DOS คล้ายๆกับรูปด้านล่างนี้(อาจจะยาวกว่านี้ขึ้นอยู่กับจำนวนไดรฟ์ในเครื่อง)



ไม่ต้องตกใจนะครับว่าเราทำผิดขั้นตอนมันหรือไม่ได้ผล เลยเข้า DOS เพราะขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนในการสร้าง Boot Sector ให้กับตัวแฟลชไดรฟ์เพื่อให้สามารถอ่านไฟล์ NTLDR จากในตัวแฟลชไดรฟ์ได้(สำหรับขั้นตอนการบู๊ตของ Windows แบบละเอียดผมจะนำมาเขียนในครั้งต่อๆไปนะครับ ขอศึกษาให้รู้จริงก่อน) โดยจะเห็นว่าในบรรทัดสุดท้ายจะถามว่าเราต้องการที่จะเขียนทับ Boot Sector ของไดรฟ์ C: หรือไม่ ให้เราพิมพ์ Y ลงไปนะครับ มันก็จะขึ้นผลการทำงานมาอีก 2-3 บรรทัดแล้วขึ้น C:\>


              สำหรับขั้นตอนด้านบนนั้นไม่ต้องตกใจว่ามันจะเขียนทับข้อมูลในฮาร์ดดิสของเรา นะครับ เพราะไดรฟ์ C: ในตอนนี้มันหมายถึงตัวแฟลชไดรฟ์นั่นเอง แต่เนื่องจากว่า Bios จะมองแฟลชไดรฟ์เป็นไดรฟ์ C: หรือมองเป็นฮาร์ดดิสตัวหนึ่งนั่นเองเลยไม่เข้า Windows ทันที จำเป็นจะต้องทำการสร้าง Boot Sector ให้มันก่อน

หมายเหตุ   สำหรับหน้าจอด้านบนนั้นจะขึ้นครั้งแรกเพียงครั้งเดียวถ้าตราบใดที่เรายังไม่ ได้ทำการ Format แฟลชไดรฟ์ใหม่เพราะมันได้สร้าง Boot Sector ที่ทำให้สามารถอ่านไฟล์ NTLDR จากในแฟลชไดรฟ์ได้แล้ว นั่นหมายถึงว่าเราสามารถที่จะนำแฟลชไดรฟ์อันนี้ไปบู๊ตเครื่องอื่นๆที่มี ปัญหา NTLDR is missing ได้เลย โดยมันจะไม่เข้ามาหน้าจอนี้อีกแล้วเพราะครั้งต่อไปมันจะบู๊ตเข้า Windows เลยครับ

ดังนั้นหลังจากแก้ปัญหาได้แล้วก็ไม่ต้อง Format แฟลชไดรฟ์ใหม่นะครับ เราสามารถที่จะก๊อบปี้ข้อมูลอื่นๆใส่ไว้ในแฟลชไดรฟ์อันนี้เพื่อนำไปใช้งาน ได้ตามปกติ แถมยังสามารถที่จะนำไปใช้บู๊ตเครื่องที่มีปัญหาได้อีกด้วย (ต้องไม่ลบไฟล์ที่ก๊อบปี้ใส่ไว้ในตอนแรกทิ้งนะครับ หรือถ้ารู้สึกว่ามันเกะกะก็สามารถลบบางไฟล์ได้นะ ครับให้เหลือแค่ไฟล์ที่จำเป็นต้องใช้งานจริงๆคือ NTLDR,NTDECT.COM และ Boot.ini ก็พอ อีก 4 ไฟล์ลบทิ้งไปก็ได้ครับ)นับว่าสะดวกจริงๆครับ


               มาต่อกันครับหลังจากที่ขึ้น C:\> ที่หน้าจอแล้วให้เราทำการบู๊ตเครื่องใหม่ จะโดยการกด Ctrl+Alt+Delete หรือกดปุ่ม Reset ก็แล้วแต่สะดวกแต่ที่สำคัญคือจะต้องยังไม่ถอดแฟลชไดรฟ์ออกนะครับเพราะเราจะ ต้องเลือกให้มันบู๊ตจากแฟลชไดรฟ์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคราวนี้จะเห็นว่าเราสามารถที่จะบู๊ตเข้า Windows ที่มีปัญหาได้แล้วล่ะครับ และหลังจากเข้า Windows แล้วก็ให้เราทำการก๊อบปี้ไฟล์ NTLDR จากแฟลชไดรฟ์ไปใส่ไว้ใน C:\> เหมือนกรณีของการใช้ไดรฟ์ A  ที่กลล่าวมาข้างต้นนั่นล่ะครับ(ก๊อบปี้เฉพาะไฟล์ NTLDR ก็พอนะครับไฟล์อื่นๆไม่ต้องก๊อบปี้) ในคราวหน้าเราก็สามารถที่จะเข้า Windows ได้โดยไม่ต้องใช้แฟลชไดรฟ์นี้อีกแล้วล่ะครับ


ปล.ขอบคุณสำหรับข้อมูล+โปรแกรมจาก http://tinyempire.com/notes/ntldrismissing.htm   ซึ่งผมได้นำมาแก้ไขเล็กน้อยเพื่อให้ง่ายในการใช้งาน(ต้องให้เครดิตต้นฉบับ เค้าด้วย)  สำหรับใครที่สนใจจะศึกษาจากต้นฉบับก็เชิญตาม Link ได้เลยนะครับ ซึ่งภายในเว็บนี้จะมีวิธีการใช้ CD/DVD ในการบู๊ตเพื่อแก้ปัญหานี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากใช้แฟลช ไดรฟ์ด้วยครับ

หมายเหตุ สำหรับโปรแกรมทั้งหมดที่ใช้สามารถโหลดได้จาก http://www.fast-files.com/getfile.aspx?file=30538 ครับ

Credit : http://www.pantip.com/tech/techblog/article.php?articleID=SV2793363

Site : www.it4x.com


 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ระวัง: หัวข้อนี้ไม่มีการอัพเดทมานานถึง 120 วัน

แจ้งเตือน: โพสของคุณจะไม่แสดงจนกว่าผู้ดูแลจะอนุมัติ.
ชื่อ: อีเมล์: