ล่าสุดรายงานข่าวจากเว็บไซต์วารสาร Applied Physics ระบุว่า นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยในรัฐแอริโซน่าได้พัฒนาสสารที่มีคุณสมบัติในการซ่อมตัวเองให้กลับมามีโครงสร้างเหมือนเดิมได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป้าหมายของการวิจัยและพัฒนาในหัวข้อ "โครงสร้างที่สามารถปรับตัวได้เองโดยอัตโนมัติ" ก็เพื่อเลียนแบบความสามารถของระบบทางชีววิทยาอย่างเช่น การพัฒนากระดูกที่เมื่อมันรับรู้ความเสียหายทางโครงสร้างของตัวเองได้แล้ว มันจะสามารถสร้างใหม่ หรือปรับตัวให้คืนสภาพเหมือนเดิมได้
สสารที่สามารถคืนชีพได้เหมือนเดิมโดยอัตโนมัตินี้ พัฒนาโดย Henry Sadano และเพื่อนร่วมทีม โดยใช้โพลีเมอร์ที่คุณสมบัติจำรูปร่างเดิมได้ หรือ "shape-memory" ที่ภายในฝังด้วยเส้นไยแสงที่มีฟังก์ชันเป็นทั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับความเสียหาย และระบบกระตุ้นด้วยความร้อน เพื่อสร้างการตอบสนองการเลียนแบบความรู้สึกที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต เลเซอร์อินฟราเรดจะส่งแสงผ่านไปยังไฟเบอร์เส้นไยแก้ว เพื่อให้เกิดความร้อนขึ้นในตำแหน่งที่วัสดุเกิดความเสียหาย ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้กลไกของการรักษาตัวเองให้กลับสู่สภาพเดิมทำงาน เทคโนโลยีสสารซ่อมตัวเองของทางมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซน่าจะเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งต่อยอดจาก Shape-Memory Polymer ของ MIT ในคลิปข้างล่างนี้ครับ
ข้อมูลจาก: sifynews
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://arip.co.th/news.php?id=412809