จากผลการสำรวจผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามพบว่า 95% จะมีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุ 13 - 29 ปีจะใช้เทคโนโลยีที่ต้องมีการโต้ตอบการใช้งาน (Interactive tecnology) ด้วย อย่างเช่น อินเทอร์เน็ต มือถือ และวิดีโอเกมส์ มากกว่าใช้พวกอปกรณ์ที่ไม่ต้องมีการโต้ตอบ (passive) อย่างเช่น โทรทัศน์ (อันนี้เลี่ยงยากมาก และถือเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ บางรายจ้องทั้งจอทีวี โน้ตบุ๊ค และมือถือไปพร้อมๆ กันก่อนเข้านอน...เฮ่อ) ซึ่งประมาณ 61% จะใช้คอมพิวเตอร์ หรือแลปทอปประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
อ้างอิงข้อมูลจาก NSF ระบุว่า ปัญหาคือ แสงสว่างที่เลียนแบบธรรมชาติ อย่างเช่น แสงที่สว่างออกมาจากหน้าจอ สามารถหยุดยั้งการผลิตสารเมลาโทนิน (melatonin) ของร่างกาย ซึ่งเป็นสารเคมีที่ช่วยให้คนนอนหลับ นอกจากนี้การมีกิจกรรมโต้ตอบแถมยังต้องใช้สมองคิดร่วมไปด้วยกับกิจกรรมเหล่านั้น ยังส่งผลกระทบให้นอนหลับยากอีกด้วย Gadget ทีมีทั้งการส่องสว่างของหน้าจอตลอดจนเสียงออกจากลำโพงยังขัดขวางการนอนหลับ โดยเฉพาะมือถือที่มักจะวางอยู่ใกล้ๆ ที่นอน เพราะเมื่อมันทำให้ตื่นขึ้นมากลางดึกก็มักจะเป็นการยากที่จะทำให้หลับต่อได้ ผลการศึกษาครั้งนี้แนะนำว่า ให้กำหนดเวลานอนที่ชัดเจน หลีกเลี่ยงการใช้ Gadget ต่างๆ ที่มีแสงสว่างก่อนนอนหนึ่งชั่วโมง และอย่านอนหลับกลางวัน ทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณนอนหลับตลอดทั้งคืน แล้วคุณผู้อ่านล่ะครับ ประสบปัญหาเหล่านี้บ้างไหม?
ข้อมุลจาก: CDC
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://arip.co.th/news.php?id=413320