นอกจากจะใช้ตัวเลขในชื่อ เพื่อสื่อถึงอายุของหุ่นยนต์ทารกแล้ว "Pneu" ยังบอกถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาหุ่นยนต์นี้ด้วย นั่นคือ pnuematic muscles (กล้ามเนื้อเทียมที่ใช้หัวขับลม (pneumatic actuator) ควบคุมการเปิดปิดวาล์วผ่านท่อลมที่ใช้แทนกล้ามเนื้อ) ด้วยกลไกการขับเคลื่อนของหุ่นยนต์ในระบบนี้ (หัวขับลมรุ่นใหม่จะใช้วัสดุที่เบา และยืดหยุ่นกว่าเดิม) ทำให้พวกมันสามารถเคลื่อนไหวได้ค่อนข้างไหลลื่น แถมยังทำงานได้นานต่อเนื่อง โดยปราศจากความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายของชิ้นส่วนกลไกตลอดจนความร้อนที่เกิดขึ้นมาเกินไป
Pneuborn-7II จะมีขนาดร่างกายเท่าๆ กับทารกอายุ 7 เดือน มันถูกสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตของกล้ามเนื้อกับการโต้ตอบทางกายภาพของทารก Pneuborn-7II จะมีความสูงประมาณ 80 ซม. (31 นิ้ว) หนัก 5.4 กิโลกรัม และข้อต่อที่ขยับได้อิสระ 26 ชุด ควบคุมด้วยกล้ามเนื้อท่อลม 19 มัด กระดูกสันหลังของหุ่นยนต์จะสามารถหมุน โค้งงอ และยืดได้ ทุกข้อต่อสามารถร่วมกันทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยมีอุปกรณ์ควบคุมการทำงานขนาดเล็ก แบตเตอรื่ วาล์วเปิดปิดช่องอากาศ และแหล่งที่ปล่อยลม โดยในการสาธิตจะใช้แหล่งอัดลมภายนอกส่งผ่านเข้าไปในร่างกายของ Pneuborn-7II ซึ่งไมโครคอนโทรลเลอร์จะทำหน้าที่ควบคุมการเปิดปิดวาล์ว เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถแสดงท่าทางต่างๆ ได้อย่างไหลลื่น
ส่วน Pneuborn-13 จะเป็นหุ่นยนต์ทารกที่มีอายุ 13 เดือน สำหรับรุ่นนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อศึกษาโครงสร้างปฏิกิริยากล้ามเนื้อกับการยืน และเดินด้วยสองเท้า (Pneuborn-7II จะศึกษาเรื่องของการคลาน) โครงสร้างของมันประกอบด้วยกล้ามเนื้อเทียมที่ใช้ pneumatic muscles 18 มัด โดยจะอยู่ในส่วนของข้อเท้า หัวเข่า และข้อต่อกับกระดูกบริเวณสะโพก Pneuborn-13 จะมีความสูง 75 ซม. น้ำหนัก 3.9 กิโลกรัม ข้อต่อที่ขยับได้ 21 จุด ชิ้นส่วนต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ หุ่นยนต์ตัวนี้จะสามารถยืน และก้าวเดินได้แบบเด็กทารกจริงๆ
เว็บไซต์ในข่าว: Osaka University
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=413620