[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] บทวิเคราะห์จากงานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพของการใช้ชีวิตที่ต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน หรือ multitasking lifestyle ว่าเป็นอย่างไร? เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากทีเดียว โดยหากสังเกตผู้คนรอบๆ ตัวเราในปัจจุบันจะพบว่า พฤติกรรมการทำ"หลายอย่าง"พร้อมๆ กันได้หล่อหลอมกระบวนการคิดแบบใหม่ ตลอดจนความสนใจที่ถูกรบกวนได้ง่ายจนหาโฟกัสเรื่องที่สนใจไม่ได้เลย แม้จะปิดคอมพ์ หรือมือถือไปแล้วก็ตาม คุณผู้อ่านล่ะครับ เป็นอย่างนี้บ้าง หรือเปล่า?
ผลจากการทดสอบความสามารถในการให้โฟกัสในเรื่องทีกำลังสนใจกับกลุ่มนักเรียนที่ต้องเผชิญกับข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาจากหลากหลายช่องทาง ตั้งแต่อ่าน-เขียนอีเมล์ ท่องเว็บสืบค้นข้อมูล ดูคลิปวิดีโอ แชต และโทรคุยกับเพื่อนๆ ปรากฎว่า นักเรียนกลุ่มนี้จะมีโฟกัสในเรื่องต่างๆ แย่กว่ากลุ่มที่ไม่ค่อยต้องทำหลายอย่าง (low-multitasking)
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีที่ทำหลายงาน อย่างเช่น เด็กๆ จะทำการบ้านได้แย่มากในขณะที่ดูทีวีไปด้วย ขณะเดียวกัน พนักงานจะมีผลิตภาพการทำงานทีดีขึ้นเมื่อไม่ต้องคอยตรวจสอบอีเมล์ทุกๆ 5 นาที "เราต้องการทราบว่า มันเกิดอะไรขึ้น เมื่อผู้คนต้องทำหลายงานตลอดเวลา?" คลิฟฟอร์ด แนสส์ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระบวนการคิดจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าว
ผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ใน Proceedings of the National Academy of Sciences เมื่อวันจันทร์ทีผ่านมา โดยเขาและทีมงานได้ทำการศึกษากลุ่มนักเรียนตัวอย่าง 262 คนที่มีกิจวัตรประจำวันคือ "บริโภคสื่อ" หลากหลาย ซึ่งทีมวิจัยได้เปรียบเทียบนักเรียนที่ใช้ชีวิตแบบมัลติทาสก์สุดๆ กับกลุ่มที่ไม่ค่อยทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน โดยให้ทำแบบทดสอบบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อแรกพวกเขาจะต้องจำตัวเลขที่ล้อมกรอบด้วยสี่เหลี่ยมสีแดงที่อยู่รวมกับตัวเลขทีล้อมกรอบสีน้ำเงิน ส่วนข้อสองผู้เข้าร่วมทดสอบจะถูกสังให้จัดหมวดของกลุ่มคำต่างๆ ที่กระจัดกระจายให้เสร็จ แบบทดสอบข้อที่สามจะให้ระบุตัวอักษรที่ต้องการจากบนหน้าจอว่าอยู่ตรงไหนให้ได้ และจะทดสอบซ้ำด้วยการระบุตัวอักษรทีให้ค้นหาในตอนแรกว่าจำได้มากน้อยแค่ไหน โดยในทุกการทดสอบ ปรากฎว่า นักเรียนที่ใช้เวลาน้อยที่สุดกับการอ่านอีเมล์ ท่องเว็บ คุยโทรศัพท์ และดูทีวี จะสามารถทำแบบสอบถามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"มันเป็นเรื่องของการทดสอบทางจิตวิทยาขั้นพื้นฐาน โดยในการทดสอบข้อแรก ผู้ทดสอบที่ทำได้ไม่ค่อยดี จะมีปัญหาเรื่องการแยกแยะข้อมูลข่าวสารทีไม่สัมพันธ์กัน เมื่อขาดสมาธิ (ให้เลือกเฉพาะตัวเลขที่ล้อมกรอบด้วยสีแดง) ส่วนการทดสอบที่สอง จะสะท้อนผลลัพธ์ของความสามารถในการจัดแบ่งสิ่งของ หรือเรื่องราวต่างๆ ในสมอง และข้อสุดท้ายจะทดสอบความเร็วในการสลับการทำสิ่งหนึ่งไปอีกสี่งหนึ่ง (จากให้มองหาเปลี่ยนเป็นจดจำ)" ทีมวิจัย อธิบายจุดประสงค์ของแบบทดสอบแต่ละข้อ
ความจริงแบบทดสอบที่ใช้เป็นเรื่องง่ายๆ และซับซ้อนน้อยกว่าสิ่งทีเกิดขึ้นในชีวิตจริงมาก ซึ่งต้องยอมรับว่า ปัจจุบันมีแรงกดดันมากมายจากสังคมที่่ทำให้ผู้คนวันนี้ต้องใช้ชีวิตแบบมัลติทาสก์ โดยเฉพาะการที่พวกเราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสารทีสามารถหลั่งไหลได้หลายช่องทาง บางคนต้องคอยทวีต อีเมล์ IM กับเพื่อนๆ หลายคน และเข้าไปในเว็บเพื่อดูข้อมูลอีกมากมายทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ไปจนถึงวิดีโอ ซึ่งมันกลายเป็นภาระที่ผูกติดชีวิตประจำวันไปแล้ว
Credit : http://www.arip.co.th/news.php?id=409810
Site : www.it4x.com
ผลจากการทดสอบความสามารถในการให้โฟกัสในเรื่องทีกำลังสนใจกับกลุ่มนักเรียนที่ต้องเผชิญกับข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาจากหลากหลายช่องทาง ตั้งแต่อ่าน-เขียนอีเมล์ ท่องเว็บสืบค้นข้อมูล ดูคลิปวิดีโอ แชต และโทรคุยกับเพื่อนๆ ปรากฎว่า นักเรียนกลุ่มนี้จะมีโฟกัสในเรื่องต่างๆ แย่กว่ากลุ่มที่ไม่ค่อยต้องทำหลายอย่าง (low-multitasking)
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีที่ทำหลายงาน อย่างเช่น เด็กๆ จะทำการบ้านได้แย่มากในขณะที่ดูทีวีไปด้วย ขณะเดียวกัน พนักงานจะมีผลิตภาพการทำงานทีดีขึ้นเมื่อไม่ต้องคอยตรวจสอบอีเมล์ทุกๆ 5 นาที "เราต้องการทราบว่า มันเกิดอะไรขึ้น เมื่อผู้คนต้องทำหลายงานตลอดเวลา?" คลิฟฟอร์ด แนสส์ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระบวนการคิดจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าว
ผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ใน Proceedings of the National Academy of Sciences เมื่อวันจันทร์ทีผ่านมา โดยเขาและทีมงานได้ทำการศึกษากลุ่มนักเรียนตัวอย่าง 262 คนที่มีกิจวัตรประจำวันคือ "บริโภคสื่อ" หลากหลาย ซึ่งทีมวิจัยได้เปรียบเทียบนักเรียนที่ใช้ชีวิตแบบมัลติทาสก์สุดๆ กับกลุ่มที่ไม่ค่อยทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน โดยให้ทำแบบทดสอบบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อแรกพวกเขาจะต้องจำตัวเลขที่ล้อมกรอบด้วยสี่เหลี่ยมสีแดงที่อยู่รวมกับตัวเลขทีล้อมกรอบสีน้ำเงิน ส่วนข้อสองผู้เข้าร่วมทดสอบจะถูกสังให้จัดหมวดของกลุ่มคำต่างๆ ที่กระจัดกระจายให้เสร็จ แบบทดสอบข้อที่สามจะให้ระบุตัวอักษรที่ต้องการจากบนหน้าจอว่าอยู่ตรงไหนให้ได้ และจะทดสอบซ้ำด้วยการระบุตัวอักษรทีให้ค้นหาในตอนแรกว่าจำได้มากน้อยแค่ไหน โดยในทุกการทดสอบ ปรากฎว่า นักเรียนที่ใช้เวลาน้อยที่สุดกับการอ่านอีเมล์ ท่องเว็บ คุยโทรศัพท์ และดูทีวี จะสามารถทำแบบสอบถามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"มันเป็นเรื่องของการทดสอบทางจิตวิทยาขั้นพื้นฐาน โดยในการทดสอบข้อแรก ผู้ทดสอบที่ทำได้ไม่ค่อยดี จะมีปัญหาเรื่องการแยกแยะข้อมูลข่าวสารทีไม่สัมพันธ์กัน เมื่อขาดสมาธิ (ให้เลือกเฉพาะตัวเลขที่ล้อมกรอบด้วยสีแดง) ส่วนการทดสอบที่สอง จะสะท้อนผลลัพธ์ของความสามารถในการจัดแบ่งสิ่งของ หรือเรื่องราวต่างๆ ในสมอง และข้อสุดท้ายจะทดสอบความเร็วในการสลับการทำสิ่งหนึ่งไปอีกสี่งหนึ่ง (จากให้มองหาเปลี่ยนเป็นจดจำ)" ทีมวิจัย อธิบายจุดประสงค์ของแบบทดสอบแต่ละข้อ
ความจริงแบบทดสอบที่ใช้เป็นเรื่องง่ายๆ และซับซ้อนน้อยกว่าสิ่งทีเกิดขึ้นในชีวิตจริงมาก ซึ่งต้องยอมรับว่า ปัจจุบันมีแรงกดดันมากมายจากสังคมที่่ทำให้ผู้คนวันนี้ต้องใช้ชีวิตแบบมัลติทาสก์ โดยเฉพาะการที่พวกเราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสารทีสามารถหลั่งไหลได้หลายช่องทาง บางคนต้องคอยทวีต อีเมล์ IM กับเพื่อนๆ หลายคน และเข้าไปในเว็บเพื่อดูข้อมูลอีกมากมายทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ไปจนถึงวิดีโอ ซึ่งมันกลายเป็นภาระที่ผูกติดชีวิตประจำวันไปแล้ว
Credit : http://www.arip.co.th/news.php?id=409810
Site : www.it4x.com