รายงานข่าวจากสำนักข่าวเอพีระบุว่า กูเกิ้ล (google) ได้เข้าซื้อบริษัทที่แยกตัวออกมาจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน เพื่อใช้เทคโนโลยีของทางบริษัทในการลดจำนวนสแปม และการ"โกง" (ลงทะเบียนใช้บริการ หรือโพสต์แสปมในบอร์ดโดยใช้บอต หรือโปรแกรมต่างๆ) ที่มักจะเกิดขึ้นบนเว็บไซต์ทั่วโลก
ReCAPTCHA ให้บริการป้องกันการโกงเว็บด้วยวิธีง่ายๆ โดยสร้างคำปริศนาที่ผู้ใช้ต้องอ่านให้ออก และกรอกให้ได้ขณะลงทะเบียนบนเว็บไซต์ต่างๆ หรือในขั้นตอนสุดท้ายของการสั่งซื้อ ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถอ่านคำปริศนาที่เกิดจากตัวอักษร และตัวเลขที่บิดเบี้ยวจนเพี้ยนรูปได้โดยอัตโนมัติ นอกจากจะใช้สายตาของมนุษย์เท่านั้น
ความแตกต่างในการสร้างคำปริศนาของ ReCAPTCHA ก็คือ ทางบริษัทเลือกใช้คำจากหนังสือจริง โดยในขั้นตอนการสร้าง captcha ระบบจะใช้การแปลงคำที่อ่านขึ้นมาได้จากหนังสือให้อยู่ในรูปของดิจิตอล (ก่อนที่จะทำให้มันมีรูปร่างผิดเพี้ยนไปจนคอมพ์อ่านไม่ได้ แต่คนอ่านรู้เรื่อง) อย่างไรก็ตาม ยังมีการเปิดเผยถึงข้อตกลงระหว่างกูเกิ้ลกับ ReCAPTCHA แต่อย่างใด กูเกิ้ลเพียงแค่กล่าวว่า เครื่องมือของ ReCAPTCHA จะยังคงเปิดให้บริการใช้ในเว็บไซต์ต่างๆ ต่อไป
ทางด้านกูเกิ้ลที่อยู่เบื้องหลังโครงการสำคัญอย่างการแปลงหนังสือเล่มของห้องสมุดให้อยู่ในรูปของไฟล์ดิจิตอล เพื่อนำขึ้นออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้การสแกนหน้าหนังสือ และใช้ OCR (Optical Character Recognition) เพื่อแปลงหน้าหนังสือที่สแกนขึ้นมาให้กลายเป็นข้อความ (text) ที่สามารถใช้ค้นหาได้ ปัญหาคือ OCR จะไม่เวิร์กกับตัวอักษรที่เก่า และเลือน หรือรูปร่างผิดเพี้ยน ในกรณีนี้ มีวิธีเดียวคือ ใช้แรงงานมนุษย์อ่าน แล้วค่อยพิมพ์เข้าไปแทน
ReCAPTCHA สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ โดยการแยกคำที่ประกอบด้วยตัวอักษร หรือคำที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านได้ ไปทำเป็นระบบ ReCAPTCHA ที่ให้บริการกับเว็บไซต์ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น ระบบของ ReCAPTCHA ก็จะนำคำเหล่านั้น (ที่ผู้ใช้บริการบนเว็บไซต์ต่างๆ อ่านจาก ReCAPTCHA แล้วป้อนกลับเข้าไปให้) มาใส่คืนเข้าไปในหนังสือ เพียงแค่นี้ งานของกูเกิ้ลก็ลดลงไปอย่างมากมาย
"ขั้นตอนของการให้บริการของ ReCAPTCHA เหมาะกับการใช้แก้ปัญหาของกูเกิ้ลมากๆ" Luis von Ahn ศาสตราจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน ผู้พัฒนาเครื่องมือ และเปิดบริษัท ReCAPTCHA ตั้งแต่ปี 2008 กล่าว
การดึงผู้ใช้บริการเข้ามามีส่วนในการแก้ปัญหา (crowd sourcing) อย่างชาญฉลาดในลักษณะนี้ กูเกิ้ลได้ร่วมมือกับ von Ahn เพื่อพัฒนาความถูกต้องของข้อมูลผ่านระบบอื่นๆ ด้วย เช่น เกมส์ออนไลน์ ที่ผู้เล่นจะต้องตอบให้ได้ว่า ภาพทีเห็นคือภาพอะไร โดยตีความจากคำอธิบายของผู้เล่นอีกคนหนึ่ง (เกมทายภาพ) ผลลัพธ์ก็คือ ชื่อของภาพ และคำอธิบายเกี่ยวกับภาพ ที่กูเกิ้ลสามารถนำไปทำ index แทนการจ้างแรงงานได้ Von Ahn จะยังคงอยู่ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน ในขณะเดียวกันก็จะทำงานทีกูเกิ้ลด้วย
อ้างอิงจาก : http://www.arip.co.th/news.php?id=409979
Site : www.it4x.com
ReCAPTCHA ให้บริการป้องกันการโกงเว็บด้วยวิธีง่ายๆ โดยสร้างคำปริศนาที่ผู้ใช้ต้องอ่านให้ออก และกรอกให้ได้ขณะลงทะเบียนบนเว็บไซต์ต่างๆ หรือในขั้นตอนสุดท้ายของการสั่งซื้อ ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถอ่านคำปริศนาที่เกิดจากตัวอักษร และตัวเลขที่บิดเบี้ยวจนเพี้ยนรูปได้โดยอัตโนมัติ นอกจากจะใช้สายตาของมนุษย์เท่านั้น
ความแตกต่างในการสร้างคำปริศนาของ ReCAPTCHA ก็คือ ทางบริษัทเลือกใช้คำจากหนังสือจริง โดยในขั้นตอนการสร้าง captcha ระบบจะใช้การแปลงคำที่อ่านขึ้นมาได้จากหนังสือให้อยู่ในรูปของดิจิตอล (ก่อนที่จะทำให้มันมีรูปร่างผิดเพี้ยนไปจนคอมพ์อ่านไม่ได้ แต่คนอ่านรู้เรื่อง) อย่างไรก็ตาม ยังมีการเปิดเผยถึงข้อตกลงระหว่างกูเกิ้ลกับ ReCAPTCHA แต่อย่างใด กูเกิ้ลเพียงแค่กล่าวว่า เครื่องมือของ ReCAPTCHA จะยังคงเปิดให้บริการใช้ในเว็บไซต์ต่างๆ ต่อไป
ทางด้านกูเกิ้ลที่อยู่เบื้องหลังโครงการสำคัญอย่างการแปลงหนังสือเล่มของห้องสมุดให้อยู่ในรูปของไฟล์ดิจิตอล เพื่อนำขึ้นออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้การสแกนหน้าหนังสือ และใช้ OCR (Optical Character Recognition) เพื่อแปลงหน้าหนังสือที่สแกนขึ้นมาให้กลายเป็นข้อความ (text) ที่สามารถใช้ค้นหาได้ ปัญหาคือ OCR จะไม่เวิร์กกับตัวอักษรที่เก่า และเลือน หรือรูปร่างผิดเพี้ยน ในกรณีนี้ มีวิธีเดียวคือ ใช้แรงงานมนุษย์อ่าน แล้วค่อยพิมพ์เข้าไปแทน
ReCAPTCHA สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ โดยการแยกคำที่ประกอบด้วยตัวอักษร หรือคำที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านได้ ไปทำเป็นระบบ ReCAPTCHA ที่ให้บริการกับเว็บไซต์ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น ระบบของ ReCAPTCHA ก็จะนำคำเหล่านั้น (ที่ผู้ใช้บริการบนเว็บไซต์ต่างๆ อ่านจาก ReCAPTCHA แล้วป้อนกลับเข้าไปให้) มาใส่คืนเข้าไปในหนังสือ เพียงแค่นี้ งานของกูเกิ้ลก็ลดลงไปอย่างมากมาย
"ขั้นตอนของการให้บริการของ ReCAPTCHA เหมาะกับการใช้แก้ปัญหาของกูเกิ้ลมากๆ" Luis von Ahn ศาสตราจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน ผู้พัฒนาเครื่องมือ และเปิดบริษัท ReCAPTCHA ตั้งแต่ปี 2008 กล่าว
การดึงผู้ใช้บริการเข้ามามีส่วนในการแก้ปัญหา (crowd sourcing) อย่างชาญฉลาดในลักษณะนี้ กูเกิ้ลได้ร่วมมือกับ von Ahn เพื่อพัฒนาความถูกต้องของข้อมูลผ่านระบบอื่นๆ ด้วย เช่น เกมส์ออนไลน์ ที่ผู้เล่นจะต้องตอบให้ได้ว่า ภาพทีเห็นคือภาพอะไร โดยตีความจากคำอธิบายของผู้เล่นอีกคนหนึ่ง (เกมทายภาพ) ผลลัพธ์ก็คือ ชื่อของภาพ และคำอธิบายเกี่ยวกับภาพ ที่กูเกิ้ลสามารถนำไปทำ index แทนการจ้างแรงงานได้ Von Ahn จะยังคงอยู่ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน ในขณะเดียวกันก็จะทำงานทีกูเกิ้ลด้วย
อ้างอิงจาก : http://www.arip.co.th/news.php?id=409979
Site : www.it4x.com