นักวิจัยจาก Microsoft's Labs ในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ กำลังพัฒนาระบบทีทำงานร่วมกับแอพพลิเคชันบนมือถือที่จะทำให้หลายคนต้องทึ่ง ไปตามๆ กัน โดยจะเป็นการรวมภาพที่จับ (capture) ด้วยกล้องบนมือถือหลายๆ เครื่องเข้ามาอยู่ในฉากเดียวกัน เพื่อให้สามารถมองเห็นมุมมองต่างๆ ในลักษณะของการถ่ายทอดสดบนออนไลน์
สำหรับระบบดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Mobicast ทำงานโดยใช้ซอฟต์แวร์ 2 ชุดด้วยกัน ชุดหนึ่งสำหรับมือถือ และอีกชุดหนึ่งสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่คอยรับภาพ (footage) ที่ส่งเข้ามา เมื่อมีมือถือตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปจับภาพสถานที่เดียวกัน ซอฟต์แวร์จะซิงค์เวลาของภาพที่ต่างกัน เพื่อจัดเรียงเฟรมตามลำดับอย่างถูกต้อง ในส่วนของเทคโนโลยีรู้จำภาพ (Image Recognition) บนเซิร์ฟเวอร์จะคำนวณลักษณะทางกายภาพของแต่ละฟุตเทจ เพื่อจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยใช้คุณสมบัติที่พบในฉาก หรือภูมิทํศน์นั้นๆ เพื่อรู้จำส่วนต่างๆ ของภาพที่สอดคล้องกัน (ซอฟต์แวร์บนเซิร์ฟเวอร์สามารถวิเคราะห์สิ่งที่ปรากฎในภาพ เพื่อให้รู้โค้ง เว้า ขอบ มุม ของตำแหน่ง และพื้นผิวที่ซ้อนทับ เหลื่อมล้ำกันอย่างไร? เพื่อจับคู่ต่อภาพ และเรียงเฟรม เพื่อเล่นภาพต่อเนื่องได้) จากนั้นนำภาพทั้งหมดมาต่อกันเป็นภาพต่อเนื่องที่ เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น
ประเด็นที่สุดยอดมากๆ ก็คือ Mobicast สามารถทำทุกอย่างที่เล่ามาข้างต้นได้แทบจะทันที (real time) ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยระบบนี้ จะทำให้เราสามารถใช้มือถือ(ของหลายๆ คน) จับภาพ และแพร่ภาพสดๆ จากสิ่งที่เกิดขึ้นบนเว็บได้ทันที ผู้ใช้ระบบจะได้รับการตอบสนองกลับไปยังมือถือด้วยภาพนิ่งที่เกิดจากการต่อ ภาพวิดีโอทีมีการส่งเข้าไป เพื่อให้สามารถเปลี่ยนไปเก็บภาพในมุมที่ไม่ซ้ำกัน ทำให้ได้ผลลัพธ์ของวิดีโอที่ได้สมบูรณ์มากขึ้น อืม...มันฟังดูเท่ดี แต่ยังรู้สึกลำบากอยู่เหมือนกัน คุณผู้อ่านคิดเห็นอย่างไรกํบผลงานวิจัยนี้บ้างครับ? (เห็นแล้ว ทำให้นึกถึง ustream.tv สามารถใช้ iPhone 3G/3GS สตรีมภาพจากกล้องผ่านเครือข่าย 3G ขึ้นไปบรอดแคสท์สดๆ บนเว็บไซต์ได้ทันที)
ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=410559
สำหรับระบบดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Mobicast ทำงานโดยใช้ซอฟต์แวร์ 2 ชุดด้วยกัน ชุดหนึ่งสำหรับมือถือ และอีกชุดหนึ่งสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่คอยรับภาพ (footage) ที่ส่งเข้ามา เมื่อมีมือถือตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปจับภาพสถานที่เดียวกัน ซอฟต์แวร์จะซิงค์เวลาของภาพที่ต่างกัน เพื่อจัดเรียงเฟรมตามลำดับอย่างถูกต้อง ในส่วนของเทคโนโลยีรู้จำภาพ (Image Recognition) บนเซิร์ฟเวอร์จะคำนวณลักษณะทางกายภาพของแต่ละฟุตเทจ เพื่อจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยใช้คุณสมบัติที่พบในฉาก หรือภูมิทํศน์นั้นๆ เพื่อรู้จำส่วนต่างๆ ของภาพที่สอดคล้องกัน (ซอฟต์แวร์บนเซิร์ฟเวอร์สามารถวิเคราะห์สิ่งที่ปรากฎในภาพ เพื่อให้รู้โค้ง เว้า ขอบ มุม ของตำแหน่ง และพื้นผิวที่ซ้อนทับ เหลื่อมล้ำกันอย่างไร? เพื่อจับคู่ต่อภาพ และเรียงเฟรม เพื่อเล่นภาพต่อเนื่องได้) จากนั้นนำภาพทั้งหมดมาต่อกันเป็นภาพต่อเนื่องที่ เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น
ประเด็นที่สุดยอดมากๆ ก็คือ Mobicast สามารถทำทุกอย่างที่เล่ามาข้างต้นได้แทบจะทันที (real time) ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยระบบนี้ จะทำให้เราสามารถใช้มือถือ(ของหลายๆ คน) จับภาพ และแพร่ภาพสดๆ จากสิ่งที่เกิดขึ้นบนเว็บได้ทันที ผู้ใช้ระบบจะได้รับการตอบสนองกลับไปยังมือถือด้วยภาพนิ่งที่เกิดจากการต่อ ภาพวิดีโอทีมีการส่งเข้าไป เพื่อให้สามารถเปลี่ยนไปเก็บภาพในมุมที่ไม่ซ้ำกัน ทำให้ได้ผลลัพธ์ของวิดีโอที่ได้สมบูรณ์มากขึ้น อืม...มันฟังดูเท่ดี แต่ยังรู้สึกลำบากอยู่เหมือนกัน คุณผู้อ่านคิดเห็นอย่างไรกํบผลงานวิจัยนี้บ้างครับ? (เห็นแล้ว ทำให้นึกถึง ustream.tv สามารถใช้ iPhone 3G/3GS สตรีมภาพจากกล้องผ่านเครือข่าย 3G ขึ้นไปบรอดแคสท์สดๆ บนเว็บไซต์ได้ทันที)
ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=410559