เทคโนโลยี "ภาพ 3 มิติ" ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมานานแล้ว ในขณะเดียวกันมันก็มีเทคนิคที่ใช้หลอกสายตาให้เห็นภาพที่ฉายอยู่นั้นเกิดมี ติตื้นลึกชัดเบลอขึ้นมามากมายจนน่าปวดหัว โดยแต่ละเทคนิคก็ยังจะใช้แว่นที่ไม่เหมือนกันอีกต่างหาก ลองดูคำอธิบายพร้อมภาพประกอบง่ายๆ ต่อไปนี้ คาดว่าน่าจะช่วยให้คุณเข้าไปใจการทำงานของพวกมันได้ง่ายขึ้นครับ
Anaglyph (แว่นตาน้ำเงิน/แดง) เทคนิคแรกนี้จะพบเห็นกันมาก และทีเป็นที่คุ้นเคยมากที่สุด ซึ่งหากจะอธิบายหลักการจากภาพที่เห็นข้างล่าง นี้ก็คือ Anaglyph จะใช้กล้องฉายภาพ 2 ตัว ฉายภาพที่มีสีสัน (น้ำเงินกับแดง) และมุมมองที่แตกต่างกัน (เหมือนกับเวลาเราปิดตาแล้วมองทีละข้าง ภาพที่เห็นจะมีมุมทีแตกต่างกันเล็กน้อย) ส่วนแว่นตาทำหน้าทีกรองภาพแต่ละสี ออกไป เช่น แว่นตาสีแดงจะกรองภาพสีแดงออกไปให้เห็นแต่ภาพสีน้ำเงิน ส่วนแว่นตาสีน้ำเงินก็จะกรองภาพส่วนที่เป็นสีแดงออกไป ทำให้ตาทั้งสองเห็นภาพที่แตกต่างกัน สมองจะตีความด้วยการรวมภาพที่มองเห็นแตกต่างกันสองภาพ อีกทั้งมีมุมแตกต่างกันกลายเป็นภาพทีมิติขึ้นมา (อีกคำอธิบายหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ภาพสีแดงจะตกหลังจอตา ส่วนภาพสีน้ำเงินจะตกกระทบก่อนถึงจอตา ความแตกต่างกันของการตกกระทบภาพทั้งสองภาพบนจอตา เมื่อมองเห็นพร้อมกันทำให้เกิดมีติดลึกตื้นที่ไม่เท่ากัน เลยเห็นเป็นภาพลอยออกมาได้นั่นเอง)
Polarized 3-D Glasses หลักการจะคล้ายกับ Anaglyph โดยเฉพาะการฉายภาพจากล้องสองตัวด้วยภาพที่แตกต่างกัน แต่เทคนิคนี้ไม่ได้ใช้สีเป็นตัวแบ่งภาพที่ต่างกัน แต่จะใช้แนวการวางตัวของช่องการมองเห็นแต่ละภาพที่ฉายซ้อนกันอยู่ เช่น จากในภาพแว่นตาข้างซ้ายจะเห็นมองเป็นภาพที่ผ่านช่องในแนวตั้ง ส่วนตาขวาจะมองเห็นภาพที่ช่องในแนวนอน ซึ่งทั้งสองภาพมีมุมมองที่แตกต่างกัน ดังนั้นมันก็จะเข้าหลักการเดิม นั่นก็คือ การทำให้ตาแต่ละข้างของเรามองเห็นภาพที่ไม่เหมือนกัน เมื่อสมองพยายามรวมภาพทั้งสองที่มีความแตกต่างของมุมมอง ภาพที่เห็นจึงเกิดเป็น 3 มิติขึ้นมา
Parallax Barrier สำหรับเทคนิคสุดท้ายที่นำมาฝาก ผู้ชมไม่จำเป็นต้องใส่แว่นตา ซึ่งหากจำกันได้ ในงาน commart เมื่อปลายปี ได้มีการนำกล้อง Fujifilm ที่สามารถมองเห็นภาพถ่ายบน LCD ด้านหลังกล้องเป็น 3D ได้ โดยไม่ต้องใส่แว่นตา นี่ล่ะครับตัวอย่างของเทคนิค Palarax ซึ่งหากจะอธิบายจากภาพที่เห็นก็คือ มันจะใช้วิธีแบ่งภาพที่มีมุมองต่างกันเป็นแท่งๆ วางตัวสลับกัน (เหมือนเส้นสแกนในทีวี แต่ทีวีจะใช้ภาพมุมมองเดียวกัน) โดยมี Parallax Barrier ที่เป็นชั้นกรองพิเศษสามารถแบ่งแต่ละส่วนของภาพให้ตาแต่ละข้างที่มองผ่าน ชั้นนี้มองเห็นภาพที่ไม่เหมือนกันได้พร้อมกัน เมื่อสมองพยายามรวมภาพที่มีมุมมองต่างกันให้เป็นภาพเดียว เราก็จะมองเห็น เป็นภาพสามมิตินั่นเอง (พูดง่ายๆ ก็คือ parallax Barrier ทำหน้าที่แทนแว่นตาที่กรองภาพทั้งสองให้ตาแต่ละข้างได้มองเห็นคนละภาพกัน นั่นเอง เจ๋งจริงๆ เลยนะครับ)
ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=410899
Anaglyph (แว่นตาน้ำเงิน/แดง) เทคนิคแรกนี้จะพบเห็นกันมาก และทีเป็นที่คุ้นเคยมากที่สุด ซึ่งหากจะอธิบายหลักการจากภาพที่เห็นข้างล่าง นี้ก็คือ Anaglyph จะใช้กล้องฉายภาพ 2 ตัว ฉายภาพที่มีสีสัน (น้ำเงินกับแดง) และมุมมองที่แตกต่างกัน (เหมือนกับเวลาเราปิดตาแล้วมองทีละข้าง ภาพที่เห็นจะมีมุมทีแตกต่างกันเล็กน้อย) ส่วนแว่นตาทำหน้าทีกรองภาพแต่ละสี ออกไป เช่น แว่นตาสีแดงจะกรองภาพสีแดงออกไปให้เห็นแต่ภาพสีน้ำเงิน ส่วนแว่นตาสีน้ำเงินก็จะกรองภาพส่วนที่เป็นสีแดงออกไป ทำให้ตาทั้งสองเห็นภาพที่แตกต่างกัน สมองจะตีความด้วยการรวมภาพที่มองเห็นแตกต่างกันสองภาพ อีกทั้งมีมุมแตกต่างกันกลายเป็นภาพทีมิติขึ้นมา (อีกคำอธิบายหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ภาพสีแดงจะตกหลังจอตา ส่วนภาพสีน้ำเงินจะตกกระทบก่อนถึงจอตา ความแตกต่างกันของการตกกระทบภาพทั้งสองภาพบนจอตา เมื่อมองเห็นพร้อมกันทำให้เกิดมีติดลึกตื้นที่ไม่เท่ากัน เลยเห็นเป็นภาพลอยออกมาได้นั่นเอง)
Polarized 3-D Glasses หลักการจะคล้ายกับ Anaglyph โดยเฉพาะการฉายภาพจากล้องสองตัวด้วยภาพที่แตกต่างกัน แต่เทคนิคนี้ไม่ได้ใช้สีเป็นตัวแบ่งภาพที่ต่างกัน แต่จะใช้แนวการวางตัวของช่องการมองเห็นแต่ละภาพที่ฉายซ้อนกันอยู่ เช่น จากในภาพแว่นตาข้างซ้ายจะเห็นมองเป็นภาพที่ผ่านช่องในแนวตั้ง ส่วนตาขวาจะมองเห็นภาพที่ช่องในแนวนอน ซึ่งทั้งสองภาพมีมุมมองที่แตกต่างกัน ดังนั้นมันก็จะเข้าหลักการเดิม นั่นก็คือ การทำให้ตาแต่ละข้างของเรามองเห็นภาพที่ไม่เหมือนกัน เมื่อสมองพยายามรวมภาพทั้งสองที่มีความแตกต่างของมุมมอง ภาพที่เห็นจึงเกิดเป็น 3 มิติขึ้นมา
Parallax Barrier สำหรับเทคนิคสุดท้ายที่นำมาฝาก ผู้ชมไม่จำเป็นต้องใส่แว่นตา ซึ่งหากจำกันได้ ในงาน commart เมื่อปลายปี ได้มีการนำกล้อง Fujifilm ที่สามารถมองเห็นภาพถ่ายบน LCD ด้านหลังกล้องเป็น 3D ได้ โดยไม่ต้องใส่แว่นตา นี่ล่ะครับตัวอย่างของเทคนิค Palarax ซึ่งหากจะอธิบายจากภาพที่เห็นก็คือ มันจะใช้วิธีแบ่งภาพที่มีมุมองต่างกันเป็นแท่งๆ วางตัวสลับกัน (เหมือนเส้นสแกนในทีวี แต่ทีวีจะใช้ภาพมุมมองเดียวกัน) โดยมี Parallax Barrier ที่เป็นชั้นกรองพิเศษสามารถแบ่งแต่ละส่วนของภาพให้ตาแต่ละข้างที่มองผ่าน ชั้นนี้มองเห็นภาพที่ไม่เหมือนกันได้พร้อมกัน เมื่อสมองพยายามรวมภาพที่มีมุมมองต่างกันให้เป็นภาพเดียว เราก็จะมองเห็น เป็นภาพสามมิตินั่นเอง (พูดง่ายๆ ก็คือ parallax Barrier ทำหน้าที่แทนแว่นตาที่กรองภาพทั้งสองให้ตาแต่ละข้างได้มองเห็นคนละภาพกัน นั่นเอง เจ๋งจริงๆ เลยนะครับ)
ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=410899