[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] แม้จะไม่มีรายงานข่าวที่ชัดเจนออกมาว่า การพยายามพิมพ์ข้อความเพื่อส่ง SMS ขณะขับรถจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงสุด แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่า การกระทำกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงกว่าปกติถึง 23 เท่าเลยทีเดียว
หลังจากที่ได้มีการตรวจสอบพฤติกรรมของพนักงานขับรถบรรทุกครอบคลุมท้องถนนที่ใช้วิ่งเป็นระยะทางมากกว่าหกล้านไมล์ สถาบันกิจการขนส่งจากเวอร์จิเนียร์เทคฯได้ข้อสรุปว่า ผู้ที่ส่งข้อความขณะขับรถจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรถชนมากกว่าผู้ขับทั่วไปสูงถึง 23 เท่า!!!
โดยในการศึกษาดังกล่าว นักวิจัยได้ติดตั้งกล้องเข้าไปในรถยนต์ของคนขับ เพื่อศึกษาว่าสายตาของผู้ขับจะมองอะไรบ้าง โดยเฉพาะเวลาที่ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น ส่งข้อความ กดปุ่มบนมือถือเพื่อโทรออก และการสนทนาทางโทรศัพท์ ไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลขผลลัพธ์ออกมาว่า กิจกรรมที่ทำให้สายตาของผู้ขับรถยนต์ออกนอกเส้นทางนานที่สุดจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
และผลลัพธ์ที่ได้คือ การพิมพ์ข้อความเพื่อส่ง SMS ขณะขับรถ ซึ่งผู้ขับจะไม่ได้มองถนนเป็นระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 4.6 วินาที ซึ่งนานพอที่รถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว 55 ไมล์ต่อชั่วโมง (ประมาณ 88.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สามารถทำระยะทางได้เท่ากับหนึ่งสนามฟุตบอล ในขณะที่การสนทนามือถือระหว่างขับรถจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเพียง 1.3 เท่าของผู้ขับทั่วไป
งานวิจัยดังกล่าวทำให้เกิดข้อถกเถียงสำหรับข้อสรุปในอดีตที่ระบุว่า การขับรถขณะใช้มือถือพูดคุยไปด้วยมีความอันตรายเท่าๆ กับเมาแล้วขับ ซึ่งนั่นเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบในห้องวิจัย และการจำลองสถานการณ์ในการขับ โดยในงานวิจัยล่าสุดอ้างว่า ข้อสรุปดังกล่าวอาจไม่ถูกต้องในโลกแห่งความเป็นจริง พร้อมทั้งให้เหตุผลว่า อันตรายที่จะเกิดขึ้นนั้น สาเหตุที่แท้จริงมาจากการที่สายตาของผู้ขับไม่ได้มองท้องถนนมากกว่า ข้อสรุปจากงานวิจัยแนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้ผู้ขับต้องละสายตาจากท้องถนน โดยเฉพาะการใช้มือถือของวัยรุ่นขณะขับรถที่มักจะใช้มือถือบ่อย และทันทีที่ต้องการ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุกับกลุ่มนี้จึงสูงมาก อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาท เราก็ไม่ควรใช้มือถือพูดคุยขณะขับรถยนต์ หากจำเป็นก็ควรใช้หูฟังบลูทูธ เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ (แม้จะแค่ 1.3 เท่าก็ตาม) และที่สำคัญอย่าพยายามพิมพ์ข้อความ เพื่อส่ง SMS จากในรถยนต์ เพราะมันมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงสุด...ด้วยความปรารถนาดี
How risky is texting while driving?
Credit : http://www.arip.co.th/news.php?id=409598
Site : www.it4x.com
หลังจากที่ได้มีการตรวจสอบพฤติกรรมของพนักงานขับรถบรรทุกครอบคลุมท้องถนนที่ใช้วิ่งเป็นระยะทางมากกว่าหกล้านไมล์ สถาบันกิจการขนส่งจากเวอร์จิเนียร์เทคฯได้ข้อสรุปว่า ผู้ที่ส่งข้อความขณะขับรถจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรถชนมากกว่าผู้ขับทั่วไปสูงถึง 23 เท่า!!!
โดยในการศึกษาดังกล่าว นักวิจัยได้ติดตั้งกล้องเข้าไปในรถยนต์ของคนขับ เพื่อศึกษาว่าสายตาของผู้ขับจะมองอะไรบ้าง โดยเฉพาะเวลาที่ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น ส่งข้อความ กดปุ่มบนมือถือเพื่อโทรออก และการสนทนาทางโทรศัพท์ ไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลขผลลัพธ์ออกมาว่า กิจกรรมที่ทำให้สายตาของผู้ขับรถยนต์ออกนอกเส้นทางนานที่สุดจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
และผลลัพธ์ที่ได้คือ การพิมพ์ข้อความเพื่อส่ง SMS ขณะขับรถ ซึ่งผู้ขับจะไม่ได้มองถนนเป็นระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 4.6 วินาที ซึ่งนานพอที่รถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว 55 ไมล์ต่อชั่วโมง (ประมาณ 88.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สามารถทำระยะทางได้เท่ากับหนึ่งสนามฟุตบอล ในขณะที่การสนทนามือถือระหว่างขับรถจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเพียง 1.3 เท่าของผู้ขับทั่วไป
งานวิจัยดังกล่าวทำให้เกิดข้อถกเถียงสำหรับข้อสรุปในอดีตที่ระบุว่า การขับรถขณะใช้มือถือพูดคุยไปด้วยมีความอันตรายเท่าๆ กับเมาแล้วขับ ซึ่งนั่นเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบในห้องวิจัย และการจำลองสถานการณ์ในการขับ โดยในงานวิจัยล่าสุดอ้างว่า ข้อสรุปดังกล่าวอาจไม่ถูกต้องในโลกแห่งความเป็นจริง พร้อมทั้งให้เหตุผลว่า อันตรายที่จะเกิดขึ้นนั้น สาเหตุที่แท้จริงมาจากการที่สายตาของผู้ขับไม่ได้มองท้องถนนมากกว่า ข้อสรุปจากงานวิจัยแนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้ผู้ขับต้องละสายตาจากท้องถนน โดยเฉพาะการใช้มือถือของวัยรุ่นขณะขับรถที่มักจะใช้มือถือบ่อย และทันทีที่ต้องการ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุกับกลุ่มนี้จึงสูงมาก อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาท เราก็ไม่ควรใช้มือถือพูดคุยขณะขับรถยนต์ หากจำเป็นก็ควรใช้หูฟังบลูทูธ เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ (แม้จะแค่ 1.3 เท่าก็ตาม) และที่สำคัญอย่าพยายามพิมพ์ข้อความ เพื่อส่ง SMS จากในรถยนต์ เพราะมันมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงสุด...ด้วยความปรารถนาดี
How risky is texting while driving?
Credit : http://www.arip.co.th/news.php?id=409598
Site : www.it4x.com