Stanton กล่าวว่า จอบส์ต้องการแทนที่ "โครงข่าย" (carriers) ที่ให้บริการกันอยู่ในทุกวันนี้โดยสมบูรณ์ โดยแนวคิดคือ การสร้างโครงข่ายให้บริการใหม่ด้วยสเป็กตรัมสัญญาณ Wi-Fi ที่ยังไม่มีการจดทะเบียน เพื่อให้บิรการกับ iPhone โดยเฉพาะ "เขาและผมได้มีโอกาสใช้เวลาสนทนากันมากมาย เพื่อตกผลึกไอเดียในการสร้างโครงข่ายฯ ด้วยสเป็กตรัม Wi-Fi ว่ามีความเป็นไปได้ หรือไม่ อย่างไร" Stanton พูดเรื่องนี้ในงานสัมมนาทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่จัดขึ้นในซีแอทเติ้ล พร้อมทั้งบอกว่า "มันคือ วิสัยทัศน์ของจอบส์"
เนื่องด้วยความถี่ของทั้ง Wi-Fi และโครงข่ายเซลลูลาร์ต่างก็เป็นคลื่นวิทยุที่มีสเป็กตรัมของความถี่สูงทั้งคู่ Wi-Fi จะมีอยู่ 5 แชนเนลที่ย่านความถี่ 2.4GHz อย่างไรก็ตาม จอบส์ยกเลิกแผนการสร้างโครงข่ายของเขาในปี 2007 เนื่องจากบรรลุข้อตกลงกับทาง AT&T หลังจากจอบส์เปิดตัว iPhone มันได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการพัฒนาอุปกรณ์พวกนี้ให้กับผู้ผลิตสมาร์ทโฟน และผู้ให้บริการโครงข่ายต่างๆ จอบส์เปลี่ยนให้ AT&T ทำหน้าที่เป็นแค่ช่องทางการขาย iPhone แทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาตัวเครื่องแบบในอดีต พูดง่ายๆ ก็คือ AT&T ไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับการพัฒนนา iPhone เลย ซึ่งโมเดลนี้ได้ถูกนำไปใช้โดยคู่แข่งอย่าง Android และบริษัทผูผลิตสมาร์ทโฟนรายอื่นๆ
ประเด็นคือ วิสัยทัศน์ของ Jobs ยังก้องอยู่ในหัวของทีมงานที่ Apple ซึ่งที่ผ่านมา ทางบริษัทก็ได้รุกคืบเข้าไปในฟังก์ชันต่างๆ ที่แต่เดิมควบคุมโดยโครงข่ายรวมถึง App Store ที่ในอดีตธุรกิจนี้จะต้องถูกควบคุมโดยโครงข่าย การเพิ่มแอพฯ iMessge เข้าไปใน iOS 5 ซึ่งสามารถส่งข้อความแบบ SMS ได้ฟรี โดยไม่ต้องผ่านโอเปอเรเตอร์ จะเห็นได้ว่า Apple ค่อยๆ ถอดตัวเองออกจากโครงข่ายที่ทำหน้าที่เป็นแค่ช่องทางการจำหน่ายเครื่องที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายที่สุด แล้วหันมาใช้ Wi-Fi แทน งานนี้ผู้ให้บริการโครงข่ายมือถือคงต้องคิดหนัก
เว็บไซต์ในข่าว: Apple
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=414583