ข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยในบล็อกของกูเกิ้ล อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติใหม่นี้จะเริ่มใช้กับยูสเซอร์ในสหรัฐฯก่อน แล้วค่อยๆ ทะยอยเปิดให้บริการทั่วโลก อย่างไรก็ดี หากพิจารณาการเพิ่มคุณสมบัตใหม่ในครั้งนี้ของกูเกิ้ลจะคล้ายๆ กับฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า snapshot ของคู่แข่งบิง (Bing) ที่เป็นการเพิ่มคอลัมน์ของคอนเท็นต์ให้กับผลลัพธ์การค้นหานอกจากรายการลิงค์ต่างๆ ทั้งนี้ทางกูเกิ้ลได้อธิบายว่า จนถึงปัจจุบัน กลไกการค้นหาของกูเกิ้ลจะเป็นเพียงการจับคู่คีย์เวิร์ดมากกว่าการเข้าใจบริบทของสิ่งที่ต้องการค้นหา อย่างเช่น คำว่า ทัจมาฮาล อาจจะมีความหมายที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล บางคนอาจว่า มันคือ อนุเสาวรีย์ที่สวยที่สุดในโลก หรือนักดนตรีคนหนึ่งที่ได้รับรางวัลแกรมมี่อะวอร์ด ตลอดจนคาสิโนในแอทแลนติกซิตี้ก็ได้
ความลับของกลไกการทำงานจะอยู่ที่ Knowledge Graph ที่ถูกโปรแกรมให้ใช้คุณสมบัติที่แตกต่างประมาณ 3.5 พันล้านรายการในการจัดการความหมายของผลลัพธ์ (อย่างเช่น คำว่า ทัจมาฮาล ที่อาจมีมากกว่า 3 ความหมายดังในตัวอย่งข้างต้น) ซึ่งทำให้เสิร์ชสามารถรวมกลุ่ม (group) ผลลัพธ์ที่ตีความแตกต่างกันได้ สำหรับในบางครั้งของการค้นหา อย่างเช่น คนดัง กูเกิ้ลจะดึงข้อมูลใส่กล่องสรุป (summary box) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคนดังคนนั้นออกมาให้เลย นอกจากการเพิ่มการแสดงผลข้อมูลเข้าไปในหน้าผลลัพธ์การค้นแล้ว ขั้นต่อไปทางกูเกิ้ลจะพยายามทำให้ระบบสามารถตอบคำถามที่ซับซ้อนได้ อย่างเช่น "ทะเลสาบ 10 แห่งที่ลึกที่สุดในแอฟริกาคืออะไร?" ซึ่งการที่จะตอบคำถามนี้ได้ เสิร์ชเอ็นจิ้นจะต้องรวบรวมแหล่งข้อมูลต่างๆ และปัจจัยในการหาคำตอบด้วยเกณฑ์ต่างๆ (ปัจจุบันเสิร์ชที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในการหาคำตอบลักษณะนี้คือ WolframAlpha) เมื่อถึงขั้นตอนนี้ กูเกิ้ลจะมีปฎิสัมพันธ์ในการใช้บริการที่มีลักษณะคล้ายกับคนมากขึ้นนั่นเอง
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=415221