เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาลขั้นต้นในสหรัฐได้ให้อนุญาตหน่วยงานสืบสวนอาชญากรรมดิจิตอลของไมโครซอฟท์ทำการขัดขวางมัลแวร์มากกว่า 500 สายพันธุ์ที่ตั้งเป้าโจมตีผู้ใช้พีซีมือใหม่หลายล้านคนทั่วโลก โดยในการนี้ทางบริษัทได้ตรวจพบบอทเน็ต Nitol จากการตรวจสอบคอมพิวเตอร์จากซัพพลายเชนที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งได้รับการยืนยันว่า บอทเน็ตในซอฟต์แวร์ปลอมจะถูกโหลดเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์มีแบรนด์เครื่องใหม่ที่เตรียมแพ็คใส่กล่อง เพื่อวางจำหน่ายในท้องตลาด ประเด็นที่น่าช็อคคือ 20% ของพีซีที่ซื้อจากซัพพลายเชนที่ควบคุมไม่ปลอดภัยเหล่านี้จะมีมัลแวร์ติดมาด้วย ซึ่งพวกมันสามารถแพร่กระจายได้อย่างง่ายดายผ่านแฟลชไดรฟ์ USB
ข้อมูลใน บล็อกของไมโครซอฟท์ ระบุว่า ซอฟต์แวร์ปลอมที่มาพร้อมกับมัลแวร์สามารถเข้าไปในสายการผลิตของซัพพลายเชนได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ที่ส่งมาจากโรงงานต่างๆ ไปจนถึงตัวแทนจำหน่าย ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องยากที่ผู้บริโภคจะรู้ได้ว่า พวกเขาได้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากซัพพลายเชนที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งเมื่อเปิดเครื่อง แล้วติดต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ไวรัสที่ซ่อนตัวอยู่ในเครื่องจะค้นหาเส้นทางบนเน็ต เพื่อพาตัวเองติดเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่มันสแกนพบต่อไป นอกจากนี่ พวกมันยังสามารถเข้าโจมตีเว็บไซต์ หรือเจาะบัญชีธนาคาร เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลได้อีกด้วย น่ากลัวมากๆ ฟังอย่างนี้แล้ว เห็นทีเราจะต้องสแกนไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาใหม่ก่อนเข้าเน็ตแล้วล่ะมั้ืง
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=415563