ปกติแล้ว โพรเซสเซอร์ของคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปจะได้รับการติดตั้งเข้าไปในซ็อคเก็ต (socket) บนเมนบอร์ด ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถถอดโพรเซสเซอร์ออกและเปลียนตัวใหม่ที่เร็วกว่าได้ ในขณะที่ถ้าเป็นระบบอย่างโน้ตบุ๊ค และแท็บเล็ต โพรเซสเซอร์จะถูกเชื่อมวงจรติดกับเมนบอร์ดไปเลย ปัจจุบันอินเทลออกแบบแพคเกจของซ๊พียูเป็นแบบ LGA ซึ่งสามารถใส่เข้าไปในซ็อคเก็ต หรือเชื่อมติดบนแผงวงจรหลักได้ ทำให้เหล่าบรรดาผู้ผลิตพีซีสามารถมีทางเลือกสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้โพรเซสเซอร์ที่แตกต่างกันให้กับผู้ใช้ได้ โดยไม่ต้องผลิตเมนบอร์ดเฉพาะโพรเซสเซอร์ตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะ
การเปลี่ยนมาใช้แพคเกจแบบ BGA หมายความว่า โพรเซสเซอร์จะไม่สามารถใส่เข้าไปในซ็อคเก็ตที่ทำให้ถอดเปลียนซีพียูได้อีกต่อไป แต่จะต้องใช้วิธีการเชื่อมติดซีพียูเข้ากับแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปไปเลย ซึ่งจะเหมือนกับโพรเซสเซอร์ที่ใช้กับโน้ตบุ๊ค และแท็บเล็ตวันนี้ ข่าวลือเกียวกับแผนการเปลี่ยนแปลงจากแพคเกจ LGA เป็น BGA มีออกมาหลายเดือนแล้ว จนกระทั่งล่าสุดเว็บไซต์ในญี่ป่นได้ออกมายืนยันข่าวนี้เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตพีซียังได้เปิดเผยอีกด้วยว่า การใช้ซ๊พียูแพคเกจ BGA จะเริ่มต้นในปีหน้า
ประเด็นของคำถามก็คือ เหตุใด Intel ถึงได้ตัดสินใจเปลียนแพคเกจ คำตอบก็คือ ด้วยวิธีนี้จะทำให้ Intel สามารถควบคุมตลาดเมนบอร์ดได้ เพราะต้องผลิตเมนบอร์ดตามจำนวนชิปที่ทาง Intel จำหน่ายออกไป ซึ่งการควบคุมได้ยังหมายถึง รายได้ทีมากขึ้นของบริษัทด้วย ทางด้านผู้ผลิตพีซีน่าจะพอใจด้วยเหมือนกัน เพราะการเชื่อมโพรเซสเซอร์ลงบนเมนบอร์ดจะประหยัดกว่าการติดตั้งซ็อคเก็ต ในขณะเดียวกัน การสิ้นสุดยุคอัพเกรดพีซียังเป็นตัวผลักดันให้ผู้ใช้ต้องซื้อเครื่องใหม่แทนที่จะอัพเกรดบนฮาร์ดแวร์เดิม สรุปก็คือ Intel ขายชิปได้มากขึ้น ผู้ผลิตพีซีขายเครื่องใหม่ได้ ผู้ใช้ได้เครื่องที่ถูกลง ว่าแต่...ปัจจัยหนึ่งของการตัดสินใจเลือกซื้อเดสก์ทอปพีซีก็คือ การที่มันสามารถอัพเกรดได้ไม่ใช่หรือ? หรือว่า นอกจากจะสิ้นยุคอัพเกรดพีซีแล้ว มันกำลังจะสิ้นยุคเดสก์ทอปพีซีอีกด้วย
แสดงบนเว็บไซด์ : http://www.it4x.com
ที่อยู่ของข้อความต้นฉบับ: http://www.arip.co.th/news.php?id=415903