รายงานข่าวล่าสุด ผู้พัฒนาไวรัสกำลังนิยมใช้วิธี"ปลอมตัว"ให้ผู้ใช้เข้าใจผิด เพื่อแพร่กระจายตัวมันไปยังคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่องทั่วโลก โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่ตกเป็นเหยือไวรัสมักจะหลงเชื่อว่า มันเป็นซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสตัวจริง
ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวว่า พบสปายแวร์ปลอมตัวเป็นแอนตี้สปายแวร์ชื่อว่า PC Antispyware 2010 ล่าสุด Personal Antivirus เป็นไวรัสัพันธุ์ใหม่ที่หลอกผู้ใช้ว่า มันเป็นซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ซึ่งมีหน้าตาอินเตอร์เฟซละม้ายคล้ายคลึงผลิตภัณฑ์ของไซแมนเทค (Symantec) ผสมๆ กับตัวอื่นๆ ทำให้ดูน่าเชื่อถือ ในขณะที่ความจริงมันเป็น "ไวรัส"
สำหรับการหลอกให้เหยื่อตายใจก็ยังคงเป็นวิธีเดิมๆ นั่นก็คือ ป๊อปอัพหน้าอินเตอร์เฟซขึ้นมาแจ้งว่า คอมพิวเตอร์ของคุณติดไวรัส พร้อมทั้งย้ำให้คุณรีบแก้ไขโดยด่วน ด้วยการติดตั้งตัวมัน(มัลแวร์)เข้าไป "โดยทัี่วไป ผู้ใช้จะได้รับหน้าต่างป๊อปอัพขนาดใหญ่ พร้อมกับร้องขอให้คุณจ่ายค่าบริการเพื่อกำจัดไวรัสภายในเครื่อง โดยป้ายเตือนที่ปรากฎขึ้นมาจะมีขนาดใหญ่มากๆ โปรดระวัง ถ้าคุณคิดจะจ่ายค่าบริการกำจัดไวรัสจากบริการ(ที่โผล่พรวดพราด)ลักษณะนี้" Manney "Papageek" Lloyd ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ กล่าว
Lloyd แนะนำว่า ไม่ควรเปิดไฟล์แนบอีเมล์จากผู้ส่งที่คุณไม่รู้จัก และควรรันซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสอย่าง AVG หรือ Malware Bytes ข้อสังเกตก็คือ สำหรับซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสตัวจริงจะใช้หน้าต่างแจ้งให้ทราบว่าใกล้หมดอายุสมาชิกแล้วเท่านั้น แต่จะไม่แสดงพร้อมพ์ขึ้นมาให้คุณ sign up ทันที
อ้างอิงจาก : http://www.arip.co.th/news.php?id=409976
Site : www.it4x.com
ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวว่า พบสปายแวร์ปลอมตัวเป็นแอนตี้สปายแวร์ชื่อว่า PC Antispyware 2010 ล่าสุด Personal Antivirus เป็นไวรัสัพันธุ์ใหม่ที่หลอกผู้ใช้ว่า มันเป็นซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ซึ่งมีหน้าตาอินเตอร์เฟซละม้ายคล้ายคลึงผลิตภัณฑ์ของไซแมนเทค (Symantec) ผสมๆ กับตัวอื่นๆ ทำให้ดูน่าเชื่อถือ ในขณะที่ความจริงมันเป็น "ไวรัส"
สำหรับการหลอกให้เหยื่อตายใจก็ยังคงเป็นวิธีเดิมๆ นั่นก็คือ ป๊อปอัพหน้าอินเตอร์เฟซขึ้นมาแจ้งว่า คอมพิวเตอร์ของคุณติดไวรัส พร้อมทั้งย้ำให้คุณรีบแก้ไขโดยด่วน ด้วยการติดตั้งตัวมัน(มัลแวร์)เข้าไป "โดยทัี่วไป ผู้ใช้จะได้รับหน้าต่างป๊อปอัพขนาดใหญ่ พร้อมกับร้องขอให้คุณจ่ายค่าบริการเพื่อกำจัดไวรัสภายในเครื่อง โดยป้ายเตือนที่ปรากฎขึ้นมาจะมีขนาดใหญ่มากๆ โปรดระวัง ถ้าคุณคิดจะจ่ายค่าบริการกำจัดไวรัสจากบริการ(ที่โผล่พรวดพราด)ลักษณะนี้" Manney "Papageek" Lloyd ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ กล่าว
Lloyd แนะนำว่า ไม่ควรเปิดไฟล์แนบอีเมล์จากผู้ส่งที่คุณไม่รู้จัก และควรรันซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสอย่าง AVG หรือ Malware Bytes ข้อสังเกตก็คือ สำหรับซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสตัวจริงจะใช้หน้าต่างแจ้งให้ทราบว่าใกล้หมดอายุสมาชิกแล้วเท่านั้น แต่จะไม่แสดงพร้อมพ์ขึ้นมาให้คุณ sign up ทันที
อ้างอิงจาก : http://www.arip.co.th/news.php?id=409976
Site : www.it4x.com