หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีข่าวการพัฒนา"แมลง-ไซบอร์ก" หรือแมลงที่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมที่สามารถบังคับให้มันบินไปในทิศทางต่างๆ ที่ต้องการได้ของกองทัพสหรัฐฯ ล่าสุดมันได้ใกล้ความจริงมากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียร์ได้ประกาศความสำเร็จในการปลูกถ่ายขั้วไฟฟ้า (electrode) เข้าไปในแมลงปีกแข็งอย่างด้วง ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถควบคุมการบินของแมลงเหล่าพวกนี้ได้ "เราได้สาธิตการควบคุมการบินของแมลงด้วยรีโมทคอนโทรลผ่านทางอุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุขนาดเล็กที่ต่อเชื่อมกับระบบกระตุ้นสัญญาณประสาทของแมลงโดยตรง" นักวิจัยเปิดเผยในรายงานชุดใหม่ที่มีชื่อว่า Frontiers in Integrative Neuroscience "อุปกรณ์ที่ฝังเข้าไปจะสามารถกระตุ้นระบบประสาท กล้ามเนื้อของแมลง ผ่านไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ติดตั้งภาครับส่งคลื่นสัญญาณวิทยุ และแบตเตอรี่ขนาดจิ๋ว โดยอุปกรณ์จะได้รับการติดตั้งที่บริเวณแผ่นหลังช่วงอกของแมลง"
ศูนย์วิจัย DARPA จาก Pentagon เป็นผู้สนับสนุนโครงการนี้ ซึ่งมีชื่อว่า HI-MEMS program ซึ่งสำหรับเป้าหมาย ทางกองทัพมีความต้องการระบบกลไกขนาดจิ๋วที่สามารถฝังเข้าไปในแมลง เพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของมันได้ โดยทีมวิจัยต่างๆ ที่ได้รับเงินสนับสนุนต่างก็แสดงความคืบหน้าของความสำเร็จกันออกมาเป็นระยะๆ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนก็ได้สาธิตการใช้รีโมทควบคุมการบินของผีเสื้อกลางคืนที่ได้รับการฝังอุปกรณ์ควบคุมไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม การสาธิตของทีมวิจัยที่เปิดเผยออกมาล่าสุดดูจะสามารถควบคุมได้ค่อนข้างแม่นยำกว่า โดยในคลิปสาธิตจะเห็นว่า เขาสามารถกระตุ้นให้แมลงบินไปซ้ายที ขวาที ได้อย่างถูกต้อง งานนี้ไม่รู้จะภูมิใจในความสำเร็จ หรือสงสารเจ้าแมลงตัวน้อยดีนะครับ
ข้อมูลจาก : http://www.arip.co.th/news.php?id=410033
SIte : www.it4x.com
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียร์ได้ประกาศความสำเร็จในการปลูกถ่ายขั้วไฟฟ้า (electrode) เข้าไปในแมลงปีกแข็งอย่างด้วง ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถควบคุมการบินของแมลงเหล่าพวกนี้ได้ "เราได้สาธิตการควบคุมการบินของแมลงด้วยรีโมทคอนโทรลผ่านทางอุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุขนาดเล็กที่ต่อเชื่อมกับระบบกระตุ้นสัญญาณประสาทของแมลงโดยตรง" นักวิจัยเปิดเผยในรายงานชุดใหม่ที่มีชื่อว่า Frontiers in Integrative Neuroscience "อุปกรณ์ที่ฝังเข้าไปจะสามารถกระตุ้นระบบประสาท กล้ามเนื้อของแมลง ผ่านไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ติดตั้งภาครับส่งคลื่นสัญญาณวิทยุ และแบตเตอรี่ขนาดจิ๋ว โดยอุปกรณ์จะได้รับการติดตั้งที่บริเวณแผ่นหลังช่วงอกของแมลง"
ศูนย์วิจัย DARPA จาก Pentagon เป็นผู้สนับสนุนโครงการนี้ ซึ่งมีชื่อว่า HI-MEMS program ซึ่งสำหรับเป้าหมาย ทางกองทัพมีความต้องการระบบกลไกขนาดจิ๋วที่สามารถฝังเข้าไปในแมลง เพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของมันได้ โดยทีมวิจัยต่างๆ ที่ได้รับเงินสนับสนุนต่างก็แสดงความคืบหน้าของความสำเร็จกันออกมาเป็นระยะๆ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนก็ได้สาธิตการใช้รีโมทควบคุมการบินของผีเสื้อกลางคืนที่ได้รับการฝังอุปกรณ์ควบคุมไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม การสาธิตของทีมวิจัยที่เปิดเผยออกมาล่าสุดดูจะสามารถควบคุมได้ค่อนข้างแม่นยำกว่า โดยในคลิปสาธิตจะเห็นว่า เขาสามารถกระตุ้นให้แมลงบินไปซ้ายที ขวาที ได้อย่างถูกต้อง งานนี้ไม่รู้จะภูมิใจในความสำเร็จ หรือสงสารเจ้าแมลงตัวน้อยดีนะครับ
ข้อมูลจาก : http://www.arip.co.th/news.php?id=410033
SIte : www.it4x.com