concept หลักของการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้วย Visual Basic ก็คือ การสร้างองค์ประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรมประยุกต์ด้วยคอนโทรล โดยมีรูปแบบที่สื่อด้วยภาพ หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า การออกแบบอินเตอร์เฟส ต่อมาก็คือการเขียนชุดคำสั่งเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ
1. เลือกชนิดของโปรแกรมประยุกต์
2. สร้างยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (หรือส่วนติดต่อกับผู้ใช้ อาจเรียกสั้นๆว่า อินเตอร์เฟส)
3. เขียนชุดคำสั่งเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับแต่ละคอนโทรลหรืออ็อบเจก
4. การทดสอบ ตรวจสอบ และดักจับข้อผิดพลาด
5. คอมไพล์โปรเจ็กต์ให้เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สมบูรณ์ (เช่น *.exe หรือ *.dll เป็นต้น)
การใช้งานคอนโทรลในการสร้างอินเตอร์เฟส
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้วย Visual Basic ก็คือการนำคอนโทรลชนิดต่างๆ ที่ Visual Basic จัดเตรียมไว้นำมาสร้างอินเตอร์เฟส การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่ดี ทำได้โดยการออกแบบอินเตอร์เฟสที่ใช้งานง่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้ จะส่งผลให้ระยะเวลาในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ลดลงไปได้มากทีเดียว เพราะสิ่งที่เหลืออยู่คือการเขียนโค้ดเพื่อทำให้โปร เจ็กต์ทำงานให้สมบูรณ์มากที่สุด
การนำคอนโทรลมาใช้งาน
สำหรับวิธีการนำคอนโทรลมาใช้งาน วาดอินเตอร์เฟสบนฟอร์ม มี 2 วิธี คือ
1. คลิ๊กที่ตัวคอนโทรลนั้น ๆ บน ToolBox แล้วนำไปวาดบนฟอร์ม
2. ดับเบิลคลิ๊กที่ตัวคอนโทรลนั้นเลย แล้ว Visual Basic จะนำคอนโทรลไปวางบนฟอร์มให้โดยอัตโนมัติ ซึ่ง Visual Basic จะตั้งค่า default ไว้ให้ทั้งตำแหน่ง และขนาดของคอนโทรล แล้วค่อยแก้ในภายหลัง สำหรับคอนโทรล CommandButton อาจใช้ขนาดที่ Visual Basic ตั้งมาไปใช้งานเลยก็ได้ เพราะมีขนาดเหมาะสมอยู่แล้ว
พื้นฐานการเขียนโค้ด
มี 2 วิธีที่สามารถเรียก editor ขึ้นมาใช้งานคือ
1. ดับเบิลคลิ๊กที่ตัวคอนโทรลนั้น ๆ
2. คลิ๊กที่คอนโทรลนั้น ให้อยู่ในสภาพใช้งาน (active) หรือได้รับความสนใจ(focus) แล้วกด F7
การใช้งาน Editor
Editor ถือได้ว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากอีกส่วนหนึ่งในบรรดาเครื่องมือที่ Visual Basic มี เพราะใช้สำหรับเขียนโค้ดให้โปรแกรมประยุกต์ทำงานได้ เครื่องมือตัวนี้ต้องใช้งานมากที่สุด ในขบวนการพัฒนาโปรกแกรมประยุกต์ด้วย Visual Basic การศึกษาสภาพแวดล้อมของ Editor จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สามารถแยกส่วนต่างๆ ของ Editor ออกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
1. ส่วน Object List Box มีหน้าที่แสดงชื่อคอนโทรลหรืออ็อบเจกต์ที่ถูกนำมาใช้งาน
2. ส่วน Event List Box มีหน้าที่แสดงเหตุการณ์ (Event) ของคอนโทรลที่ถูกเลือกใน Object List Box
3. ส่วนการเขียนโค้ด เมื่อเลือกคอนโทรลใน Object List Box และเลือกเหตุการณ์ใน Event List Box แล้ว Visual Basic จะสร้างโพรซีเดอร์ (Procedure) ให้อัตโนมัติ
ความสามารถพิเศษของ Editor
ในการใช้งาน Editor เมื่อพิมพ์ชื่อคอนโทรลแล้วพิมพ์ Editor จะแสดง ToolTip ที่เป็นรายการพร็อพเพอร์ตี้หรือรายการเมธอดที่คอนโทรลนั้นสนับสนุนอยู่ขึ้นมาทันที ช่วยให้ไม่ต้องจำว่าคอนโทรลนี้มีพร็อพเพอร์ตี้หรือมีเมธอดอะไรบ้าง รวมถึงป้องกันไม่ให้พิมพ์ผิดอีกด้วย และถ้ามีการเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐานต่าง ๆ ToolTip ก็จะแสดงรูปแบบไวยากรณ์ของฟังก์ชันนั้นๆ ให้ทันทีเช่นกัน
ความสามารถของ Editor อีกอย่างก็คือสามารถตรวจสอบไวยากรณ์ (Syntax) ตามโครงสร้างของภาษา Visual Basic ได้อีกด้วย โดยขณะที่พิมพ์โค้ดเข้าไปเมื่อกด Enter จบบรรทัด Visual Basic จะทำงานตรวจสอบไวยากรณ์ทันที ถ้ามีข้อผิดพลาด ในการใช้งานไวยากรณ์เกิดขึ้น Visual Basic จะแสดงข้อความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องความผิดพลาดนั้นๆ ขึ้นมาทันที
การใช้ MessageBox
MessageBox เป็นเครื่องมือที่ใช้โต้ตอบกับผู้ใช้ โดยจะแสดงข้อมูลเพียงอย่างเดียว แล้วให้ผู้ใช้ Click ปุ่มเลือกในกรณีที่ต้องการให้ผู้ใช้เลือกตอบ
รูปแบบการใช้งาน
MsgBox Prompt[,Buttons][,Title]
Prompt คือข้อความที่ต้องการแสดงใน MessageBox ในกรณีที่ต้องการ แสดงข้อมูลหลายบรรทัดทำได้โดยเชื่อมกับ chr(13)
Buttons คือส่วนที่ใช้กำหนดการแสดงปุ่มและกำหนดรูปไอคอนบน MessageBox
Title คือส่วนของข้อความที่ต้องการแสดงบนแถบด้านบนของ MessageBox
การกำหนดปุ่มและไอคอนของปุ่มสามารถทำได้โดยการระบุค่าคงที่ของแต่ละอย่างเชื่อมด้วยเครื่องหมาย + ซึ่งรายละเอียดของค่าคงที่สามารถใช้งานได้มีดังนี้
กลุ่มที่ใช้สำหรับกำหนดปุ่มที่จะแสดงใน MessageBox ค่าคงที่ รายละเอียด
VbOKOnly แสดงปุ่ม OK ปุ่มเดียว
VbOKCancel แสดงปุ่ม OK และ Cancel
VbYesNo แสดงปุ่ม Yes และ No
VbYesNoCancel แสดงปุ่ม Yes No และ Cancel
VbAbortRetrylgnore แสดงปุ่ม Abort Retry และ lgnore
VbRetryCancel แสดงปุ่ม Retry และ Cancel
กลุ่มที่ใช้สำหรับกำหนดไอคอนที่จะแสดงใน MessageBox ค่าคงที่ รายละเอียด
VbCritical แสดงไอคอน Critical Message
VbExclamation แสดงไอคอน Earning Message
Vblnformation แสดงไอคอน Information Message
VbQuestion แสดงไอคอน Question Message
กลุ่มที่ใช้สำหรับกำหนดปุ่มเริ่มต้น ค่าคงที่ รายละเอียด
VbDefaultButton1 กำหนดให้ปุ่มแรกเป็นปุ่มเริ่มต้น
VbDefaultButton2 กำหนดให้ปุ่มที่ 2 เป็นปุ่มเริ่มต้น
VbDefaultButton3 กำหนดให้ปุ่มที่ 3 เป็นปุ่มเริ่มต้น
VbDefaultButton4 กำหนดให้ปุ่มที่ 4 เป็นปุ่มเริ่มต้น
การใช้ InputBox
InputBox เป็นเครื่องมือที่ใช้รับข้อมูลโดยให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลลงไป แล้วเก็บข้อมูลนั้นไว้ในตัวแปร
รูปแบบการใช้งาน
InputBox(Prompt[,Title][,Default])
Prompt คือข้อความที่ต้องการแสดงใน InputBox ในกรณีที่ต้องการ แสดงข้อมูลหลายบรรทัดทำได้โดยเชื่อมกับ chr(13)
Title คือส่วนของข้อความที่ต้องการแสดงบนแถบด้านบนของ InputBox
Default คือค่าที่กำหนดให้กรณีที่ไม่มีการป้อนข้อมูลใน InputBox
การสร้างเมนู
ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ 1 โปรแกรมจะประกอบไปด้วยฟอร์มจำนวนมาก ในการเรียกใช้งานฟอร์มแต่ละฟอร์มจำเป็นจะต้องมีเมนูมาช่วยจัดหมวดหมู่ของฟอร์ม เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน การสร้างเมนูใน Visual Basic สามารถทำได้โดยเรียกใช้คำสั่งสำหรับสร้างเมนูโดย Chick ขวาบนฟอร์มที่ต้องการสร้างเมนู เลือกคำสั่ง Menu Editor
รายละเอียดต่าง ๆ ของ Menu Editor
Caption ข้อความที่จะปรากฏบนเมนู
Name ชื่อเมนู ห้ามซ้ำกัน
Index ใช้สำหรับระบุลำดับกรณีที่กำหนดให้เป็นเมนูแบบอาร์เรย์
ShortCut ใช้สำหรับกำหนดคีย์ลัดในการเรียกใช้เมนู
Checked กำหนดให้เป็นเมนูที่มีเครื่องหมายถูกหน้าเมน
Enabled กำหนดให้สามารถใช้งานเมนูได้ถ้ามีเครื่องหมายถูก หรือ กำหนดให้ค่าเป็น True
Visible กำหนดให้แสดงเมนูถ้ามีเครื่องหมายถูก หรือ กำหนดให้มีค่าเป็น True
เครดิต: ครูขวัญจิตร สุวรรณวงศ์
1. เลือกชนิดของโปรแกรมประยุกต์
2. สร้างยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (หรือส่วนติดต่อกับผู้ใช้ อาจเรียกสั้นๆว่า อินเตอร์เฟส)
3. เขียนชุดคำสั่งเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับแต่ละคอนโทรลหรืออ็อบเจก
4. การทดสอบ ตรวจสอบ และดักจับข้อผิดพลาด
5. คอมไพล์โปรเจ็กต์ให้เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สมบูรณ์ (เช่น *.exe หรือ *.dll เป็นต้น)
การใช้งานคอนโทรลในการสร้างอินเตอร์เฟส
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้วย Visual Basic ก็คือการนำคอนโทรลชนิดต่างๆ ที่ Visual Basic จัดเตรียมไว้นำมาสร้างอินเตอร์เฟส การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่ดี ทำได้โดยการออกแบบอินเตอร์เฟสที่ใช้งานง่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้ จะส่งผลให้ระยะเวลาในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ลดลงไปได้มากทีเดียว เพราะสิ่งที่เหลืออยู่คือการเขียนโค้ดเพื่อทำให้โปร เจ็กต์ทำงานให้สมบูรณ์มากที่สุด
การนำคอนโทรลมาใช้งาน
สำหรับวิธีการนำคอนโทรลมาใช้งาน วาดอินเตอร์เฟสบนฟอร์ม มี 2 วิธี คือ
1. คลิ๊กที่ตัวคอนโทรลนั้น ๆ บน ToolBox แล้วนำไปวาดบนฟอร์ม
2. ดับเบิลคลิ๊กที่ตัวคอนโทรลนั้นเลย แล้ว Visual Basic จะนำคอนโทรลไปวางบนฟอร์มให้โดยอัตโนมัติ ซึ่ง Visual Basic จะตั้งค่า default ไว้ให้ทั้งตำแหน่ง และขนาดของคอนโทรล แล้วค่อยแก้ในภายหลัง สำหรับคอนโทรล CommandButton อาจใช้ขนาดที่ Visual Basic ตั้งมาไปใช้งานเลยก็ได้ เพราะมีขนาดเหมาะสมอยู่แล้ว
พื้นฐานการเขียนโค้ด
มี 2 วิธีที่สามารถเรียก editor ขึ้นมาใช้งานคือ
1. ดับเบิลคลิ๊กที่ตัวคอนโทรลนั้น ๆ
2. คลิ๊กที่คอนโทรลนั้น ให้อยู่ในสภาพใช้งาน (active) หรือได้รับความสนใจ(focus) แล้วกด F7
การใช้งาน Editor
Editor ถือได้ว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากอีกส่วนหนึ่งในบรรดาเครื่องมือที่ Visual Basic มี เพราะใช้สำหรับเขียนโค้ดให้โปรแกรมประยุกต์ทำงานได้ เครื่องมือตัวนี้ต้องใช้งานมากที่สุด ในขบวนการพัฒนาโปรกแกรมประยุกต์ด้วย Visual Basic การศึกษาสภาพแวดล้อมของ Editor จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สามารถแยกส่วนต่างๆ ของ Editor ออกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
1. ส่วน Object List Box มีหน้าที่แสดงชื่อคอนโทรลหรืออ็อบเจกต์ที่ถูกนำมาใช้งาน
2. ส่วน Event List Box มีหน้าที่แสดงเหตุการณ์ (Event) ของคอนโทรลที่ถูกเลือกใน Object List Box
3. ส่วนการเขียนโค้ด เมื่อเลือกคอนโทรลใน Object List Box และเลือกเหตุการณ์ใน Event List Box แล้ว Visual Basic จะสร้างโพรซีเดอร์ (Procedure) ให้อัตโนมัติ
ในการใช้งาน Editor เมื่อพิมพ์ชื่อคอนโทรลแล้วพิมพ์ Editor จะแสดง ToolTip ที่เป็นรายการพร็อพเพอร์ตี้หรือรายการเมธอดที่คอนโทรลนั้นสนับสนุนอยู่ขึ้นมาทันที ช่วยให้ไม่ต้องจำว่าคอนโทรลนี้มีพร็อพเพอร์ตี้หรือมีเมธอดอะไรบ้าง รวมถึงป้องกันไม่ให้พิมพ์ผิดอีกด้วย และถ้ามีการเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐานต่าง ๆ ToolTip ก็จะแสดงรูปแบบไวยากรณ์ของฟังก์ชันนั้นๆ ให้ทันทีเช่นกัน
ความสามารถของ Editor อีกอย่างก็คือสามารถตรวจสอบไวยากรณ์ (Syntax) ตามโครงสร้างของภาษา Visual Basic ได้อีกด้วย โดยขณะที่พิมพ์โค้ดเข้าไปเมื่อกด Enter จบบรรทัด Visual Basic จะทำงานตรวจสอบไวยากรณ์ทันที ถ้ามีข้อผิดพลาด ในการใช้งานไวยากรณ์เกิดขึ้น Visual Basic จะแสดงข้อความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องความผิดพลาดนั้นๆ ขึ้นมาทันที
การใช้ MessageBox
MessageBox เป็นเครื่องมือที่ใช้โต้ตอบกับผู้ใช้ โดยจะแสดงข้อมูลเพียงอย่างเดียว แล้วให้ผู้ใช้ Click ปุ่มเลือกในกรณีที่ต้องการให้ผู้ใช้เลือกตอบ
รูปแบบการใช้งาน
MsgBox Prompt[,Buttons][,Title]
Prompt คือข้อความที่ต้องการแสดงใน MessageBox ในกรณีที่ต้องการ แสดงข้อมูลหลายบรรทัดทำได้โดยเชื่อมกับ chr(13)
Buttons คือส่วนที่ใช้กำหนดการแสดงปุ่มและกำหนดรูปไอคอนบน MessageBox
Title คือส่วนของข้อความที่ต้องการแสดงบนแถบด้านบนของ MessageBox
การกำหนดปุ่มและไอคอนของปุ่มสามารถทำได้โดยการระบุค่าคงที่ของแต่ละอย่างเชื่อมด้วยเครื่องหมาย + ซึ่งรายละเอียดของค่าคงที่สามารถใช้งานได้มีดังนี้
กลุ่มที่ใช้สำหรับกำหนดปุ่มที่จะแสดงใน MessageBox ค่าคงที่ รายละเอียด
VbOKOnly แสดงปุ่ม OK ปุ่มเดียว
VbOKCancel แสดงปุ่ม OK และ Cancel
VbYesNo แสดงปุ่ม Yes และ No
VbYesNoCancel แสดงปุ่ม Yes No และ Cancel
VbAbortRetrylgnore แสดงปุ่ม Abort Retry และ lgnore
VbRetryCancel แสดงปุ่ม Retry และ Cancel
กลุ่มที่ใช้สำหรับกำหนดไอคอนที่จะแสดงใน MessageBox ค่าคงที่ รายละเอียด
VbCritical แสดงไอคอน Critical Message
VbExclamation แสดงไอคอน Earning Message
Vblnformation แสดงไอคอน Information Message
VbQuestion แสดงไอคอน Question Message
กลุ่มที่ใช้สำหรับกำหนดปุ่มเริ่มต้น ค่าคงที่ รายละเอียด
VbDefaultButton1 กำหนดให้ปุ่มแรกเป็นปุ่มเริ่มต้น
VbDefaultButton2 กำหนดให้ปุ่มที่ 2 เป็นปุ่มเริ่มต้น
VbDefaultButton3 กำหนดให้ปุ่มที่ 3 เป็นปุ่มเริ่มต้น
VbDefaultButton4 กำหนดให้ปุ่มที่ 4 เป็นปุ่มเริ่มต้น
การใช้ InputBox
InputBox เป็นเครื่องมือที่ใช้รับข้อมูลโดยให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลลงไป แล้วเก็บข้อมูลนั้นไว้ในตัวแปร
รูปแบบการใช้งาน
InputBox(Prompt[,Title][,Default])
Prompt คือข้อความที่ต้องการแสดงใน InputBox ในกรณีที่ต้องการ แสดงข้อมูลหลายบรรทัดทำได้โดยเชื่อมกับ chr(13)
Title คือส่วนของข้อความที่ต้องการแสดงบนแถบด้านบนของ InputBox
Default คือค่าที่กำหนดให้กรณีที่ไม่มีการป้อนข้อมูลใน InputBox
การสร้างเมนู
ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ 1 โปรแกรมจะประกอบไปด้วยฟอร์มจำนวนมาก ในการเรียกใช้งานฟอร์มแต่ละฟอร์มจำเป็นจะต้องมีเมนูมาช่วยจัดหมวดหมู่ของฟอร์ม เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน การสร้างเมนูใน Visual Basic สามารถทำได้โดยเรียกใช้คำสั่งสำหรับสร้างเมนูโดย Chick ขวาบนฟอร์มที่ต้องการสร้างเมนู เลือกคำสั่ง Menu Editor
รายละเอียดต่าง ๆ ของ Menu Editor
Caption ข้อความที่จะปรากฏบนเมนู
Name ชื่อเมนู ห้ามซ้ำกัน
Index ใช้สำหรับระบุลำดับกรณีที่กำหนดให้เป็นเมนูแบบอาร์เรย์
ShortCut ใช้สำหรับกำหนดคีย์ลัดในการเรียกใช้เมนู
Checked กำหนดให้เป็นเมนูที่มีเครื่องหมายถูกหน้าเมน
Enabled กำหนดให้สามารถใช้งานเมนูได้ถ้ามีเครื่องหมายถูก หรือ กำหนดให้ค่าเป็น True
Visible กำหนดให้แสดงเมนูถ้ามีเครื่องหมายถูก หรือ กำหนดให้มีค่าเป็น True
เครดิต: ครูขวัญจิตร สุวรรณวงศ์