เมื่อคืนที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ (Twitter) ได้ปรับโฉมโฮมเพจใหม่ ด้วยการแสดงรายการ "ข้อความทวีตยอดฮิต" (Top Tweets) ที่สามารถเลื่อนรับชมได้ โดยการปรับปรุงการออกแบบครั้งนี้ ทางทวิตเตอร์ต้องการโน้มน้าวให้ผู้ใช้ที่ยังไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกได้เห็น ถึงสิ่งที่เขาพลาดไป
สำหรับการออกแบบหน้าโฮมเพจใหม่ที่ในบล็อกของทวิตเตอร์แจ้งว่า มันยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบ และยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยโฮมเพจใหม่จะมีการนำเสนอหัวข้อที่เป็นแนวโน้มที่ได้รับความสนใจสูงสุดใน ทวิตเตอร์ไว้ด้านบน และเมื่อเลื่อนบนหัวข้อเหล่านั้น ผู้เข้าชมก็จะได้รับคำอธิบายว่า เหตุใดคำ หรือวลีเหล่านั้นถึงได้รับความนิยมในขณะนี้
ถัดจากด้านบนลงมาจะเป็นฟีด (feed) ที่ดูคล้ายกับทวีตล่าสุดที่มาจากผู้ใช้บริการทวิตเตอร์อย่างต่อเนื่อง "แนวคิดทีอยู่ภายใต้ดีไซน์ใหม่ของทวิตเตอร์ เราพยายามที่จะนำคุณสมบัติการทำงานมานำเสนอในรูปของคอนเท็นต์ทีมีการปรับ เปลี่ยนอย่างไดนามิกบนหน้าโฮมเพจ การเปิดเผยตัวอย่างของผู้ใช้บางรายที่อยู่ในนี้ เรื่องราวที่กำลังสนใจคุยกัน และประเด็นใหญ่ที่ผู้คนถกทันกันอยู่ในขณะนี้" ข้อความที่โพสต์ในบล็อกของทวิตเตอร์ ซึ่งหัวใจสำคัญในการทำให้โฮมเพจใหม่มีความน่าสนใจก็คือ กลไกการคัดเลือกคอนเท็นต์ทีนำขึ้นมาแสดง
ในหน้าหลักของทวิตเตอร์ก็มีการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติการทำงานด้วย อย่างเช่น ส่วนของผู้ใช้แนะนำให้ติดตาม (suggested users) ที่เปิดโอกาสให้สามารถดูทวีตล่าสุดได้ด้วยการเลื่อนเมาส์ไปบนภาพของผู้ใช้ แต่ละคนได้ "การเปลียนแปลงครั้่งล่าสุดนี้ เราต้องการให้ผู้ใช้รู้สึกว่า ทวิตเตอร์ไม่ได้เป็นแค่การอัพเดตสถานะของผู้ใช้เท่านั้น แต่มันเป็นเครือข่ายการรับรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วแทบทุก วินาทีของแต่ละวัน ยิ่งมีการแบ่งปันข้อมูลกันมากเท่าไร ข้อมูลเหล่านั้นก็จะมีคุณค่ากับทุกๆ คน"
ดีไซน์ใหม่ยังได้มีการเปลี่ยนรายการแนะนำ (Sugeestions) จากที่เคยเต็มไปด้วยรายชื่อคนดัง และสื่อระดับผู้นำไปเป็นรายขื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ได้รับความนิยมแทน โดยแสดงหัวข้อที่ผู้ใช้เหล่านี้พูดถึง เพื่อดึงความสนใจให้ผู้สนใจที่ยังไม่เป็นสมาชิกของทวิตเตอร์เกิดความรู้สึก อยากเข้ามาเป็นหนึ่งในสังคมนี้ ทางเว็บไซต์ยังได้เพิ่มคุณสมบัติการติดตามหัวข้อที่เป็นแนวโน้ม โดยอ้างอิงจากตำแหน่งที่อยู่ หรือความสนใจส่วนตัวของผู้ใช้อีกด้วย ไม่ใช่แค่ 10 อันดับแนวโน้มที่มีการกล่าวขวัญมากที่สุดที่มาจากทั้งเว็บไซต์เหมือนเดิมอีก ต่อไป ทั้งนี้ทางทวิตเตอร์จะคอยติดตามผลการใช้งานโฮมเพจใหม่ เพื่อดูว่า ผู้ใช้มีการตอบสนองกับดีไซน์ และคุณสมบัติการทำงานใหม่อย่างไรบ้าง
ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=411131
สำหรับการออกแบบหน้าโฮมเพจใหม่ที่ในบล็อกของทวิตเตอร์แจ้งว่า มันยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบ และยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยโฮมเพจใหม่จะมีการนำเสนอหัวข้อที่เป็นแนวโน้มที่ได้รับความสนใจสูงสุดใน ทวิตเตอร์ไว้ด้านบน และเมื่อเลื่อนบนหัวข้อเหล่านั้น ผู้เข้าชมก็จะได้รับคำอธิบายว่า เหตุใดคำ หรือวลีเหล่านั้นถึงได้รับความนิยมในขณะนี้
ถัดจากด้านบนลงมาจะเป็นฟีด (feed) ที่ดูคล้ายกับทวีตล่าสุดที่มาจากผู้ใช้บริการทวิตเตอร์อย่างต่อเนื่อง "แนวคิดทีอยู่ภายใต้ดีไซน์ใหม่ของทวิตเตอร์ เราพยายามที่จะนำคุณสมบัติการทำงานมานำเสนอในรูปของคอนเท็นต์ทีมีการปรับ เปลี่ยนอย่างไดนามิกบนหน้าโฮมเพจ การเปิดเผยตัวอย่างของผู้ใช้บางรายที่อยู่ในนี้ เรื่องราวที่กำลังสนใจคุยกัน และประเด็นใหญ่ที่ผู้คนถกทันกันอยู่ในขณะนี้" ข้อความที่โพสต์ในบล็อกของทวิตเตอร์ ซึ่งหัวใจสำคัญในการทำให้โฮมเพจใหม่มีความน่าสนใจก็คือ กลไกการคัดเลือกคอนเท็นต์ทีนำขึ้นมาแสดง
ในหน้าหลักของทวิตเตอร์ก็มีการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติการทำงานด้วย อย่างเช่น ส่วนของผู้ใช้แนะนำให้ติดตาม (suggested users) ที่เปิดโอกาสให้สามารถดูทวีตล่าสุดได้ด้วยการเลื่อนเมาส์ไปบนภาพของผู้ใช้ แต่ละคนได้ "การเปลียนแปลงครั้่งล่าสุดนี้ เราต้องการให้ผู้ใช้รู้สึกว่า ทวิตเตอร์ไม่ได้เป็นแค่การอัพเดตสถานะของผู้ใช้เท่านั้น แต่มันเป็นเครือข่ายการรับรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วแทบทุก วินาทีของแต่ละวัน ยิ่งมีการแบ่งปันข้อมูลกันมากเท่าไร ข้อมูลเหล่านั้นก็จะมีคุณค่ากับทุกๆ คน"
ดีไซน์ใหม่ยังได้มีการเปลี่ยนรายการแนะนำ (Sugeestions) จากที่เคยเต็มไปด้วยรายชื่อคนดัง และสื่อระดับผู้นำไปเป็นรายขื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ได้รับความนิยมแทน โดยแสดงหัวข้อที่ผู้ใช้เหล่านี้พูดถึง เพื่อดึงความสนใจให้ผู้สนใจที่ยังไม่เป็นสมาชิกของทวิตเตอร์เกิดความรู้สึก อยากเข้ามาเป็นหนึ่งในสังคมนี้ ทางเว็บไซต์ยังได้เพิ่มคุณสมบัติการติดตามหัวข้อที่เป็นแนวโน้ม โดยอ้างอิงจากตำแหน่งที่อยู่ หรือความสนใจส่วนตัวของผู้ใช้อีกด้วย ไม่ใช่แค่ 10 อันดับแนวโน้มที่มีการกล่าวขวัญมากที่สุดที่มาจากทั้งเว็บไซต์เหมือนเดิมอีก ต่อไป ทั้งนี้ทางทวิตเตอร์จะคอยติดตามผลการใช้งานโฮมเพจใหม่ เพื่อดูว่า ผู้ใช้มีการตอบสนองกับดีไซน์ และคุณสมบัติการทำงานใหม่อย่างไรบ้าง
ข้อมูลจาก: http://www.arip.co.th/news.php?id=411131